วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาฉลามหางไหม้


ชื่ออื่นๆ หางไหม้, หางเหยี่ยว, หนามหลังหางดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilus melanopterus , Balantiocheilus ambusticauda
ชื่ออังกฤษ SILVER SHARK , BALA SHARK , TRICOLOR SHARK
ถิ่นอาศัย เคยพบในเขตภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและเขมร
ขนาด ราว 25 ซ.ม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดยาว 35 ซ.ม.
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีเงิน ครีบสีเหลืองนวล ขอบปลายครีบทุกครีบยกเว้นครีบอก มีแถบสีดำขนาดใหญ่คาดลักษณะคล้ายรอยไหม้ ปากขนาดเล็กยืดหดได้ เกล็ดแวววาวระยิบระยับ ปลายหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง
อุปนิสัย รักสงบ ขี้ตื่นตกใจง่าย ปกติอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก ว่ายน้ำเกือบตลอดเวลา
การสังเกตเพศ ตัวผู้จะเพรียวบางกว่าตัวเมียเล็กน้อย
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่จมอยู่ตามพื้น ปล่หนัก 155 กรัมสามารถวางไข่ได้ 6,000-7,000 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 12 ชั่วโมง ปัจจุบันปลาที่นำมาขายเกิดจากการผสมเทียม
การเลี้ยง ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงเพื่อปลาจะได้ไม่ตื่นตกใจง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กกว่ากันมากนัก ในปลาเล็กที่ยังไม่แข็งแรงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีนิสัยดุร้าย ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีขนาดใหญ่พอที่ปลาจะว่ายหลบหลีกปลาอื่นได้ ตู้ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อกันปลากระโดด จัดเป็นปลาอดทน โตเร็วและเลี้ยงง่ายมาก
อาหาร กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป

ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=46828&area=3&name=board4&topic=29&action=view

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น