วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลานกแก้ว


ปลานกแก้ว (Parrotfishes) อยู่ในครอบครัว Scaridae โตเต็มที่มีขาดประมาณ 30-70 ซ.ม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการังพบได้ในทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่พบในประเทศมีมากกว่า20สายพันธุ์ กินฟองน้ำปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ

ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้ายๆจะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ เวลานอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่างๆรวมทั้งพวกหนอนพยาธิปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน

ข้อมูลเฉพาะตัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cichlasoma
วงศ์ : Cichlidae
ถิ่นกำเนิด : เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์
อุณหภูมิ : 22 - 28
pH : 6.5 - 7.0
การขยายพันธุ์ : ผสมข้ามสายพันธุ์ สืบพันธุ์โดยการวางไข่ ติดกับก้อนหิน
อาหาร : อาหารสำเร็จรูป อาหารสด พวก หนอนแดง ไรทะล รวมทั้ง ไส้เดือนน้ำ
ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย


ลักษณะนิสัย

ปลานกแก้วมีนิสัยชอบขุดคุ้ย เป็นปลาค่อนข้างขี้กลัว การเลี้ยงปลานกแก้วควรเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัว เพื่อที่ว่าปลาจะไม่ตื่นมากนัก แต่ถ้ารวมกับปลาชนิดอื่นๆ ปลานกแก้วจะสงบเสงี่ยม แต่ถ้านำมาเลี้ยงรวมกันกับพวกเดียวกันจะมีการไล่การบ้าง เป็นเรื่องธรรมดาของปลาประเภทนี้


การจัดตู้สำหรับปลานกแก้ว

การจัดตู้ควรจะจัดให้โล่ง ไม่ให้รกจนเกินไปควรไส่หินให้ด้วย เพราะนกแก้วเป้นปลาชอบขุดคุ้ยหิน แล้วควรตกแต่งด้วยหินขนาดใหญ่ ขอนไม้หรือภาชนะดินเผา ประเภท ให และ หม้อ ขนาดควรจะประมาณ 30 นิ้ว เพื่อตอนโตจะไม่แน่น จนเกินไปปลานกแก้วขนาดโตเต็มที่แล้ว

วิธีการดูเพศนกแก้ว
วิธีการนี้สามารถดูได้ทั้งตัวผู้ตัวเมียคือ วิธีการดูท่อเพศ ตัวผู้จะมีท่อเพศยาวเรียว ปลายแหลม ซึ่งในปลาตัวผู้ที่เคยฉีดเชื้อมาแล้ว ปลายที่แหลมนั้นจะอาจจะแตกและมีสีดำเช่นกัน ส่วนตัวเมียจะมีท่อเพศใหญ่กว่า จะมีฐานคล้ายสามเหลี่ยมมุมป้าน มีท่อยื่นออกมา ในส่วนปลาตัวใหญ่หรือมีขนาดแล้วก็ดูไม่ยากเย็นนัก แต่ในปลาขนาดเล็กบางทีก็จนปัญญาเหมือนกัน
อีกวิธีคือ ดูครีบตะเกียบใต้ท้อง ตัวเมียจะมีลักษณะสั้นไม่แหลมเป็นเส้น ตัวผู้จะมีครีบตะเกียบที่แหลมเป็นเส้นกว่าตัวเมีย วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะปลานกแก้วเท่านั้นและไม่ทุกตัวที่เป็นเช่นนั้น แต่โดยมากจะเป็นเช่นนั้น ในส่วนคิงคองและซินแดงไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
บางทีการเลี้ยงนกแก้วหรือคิงคองมานาน เลี้ยงปริมาณเยอะ ๆ มีเวลานั่งชมพฤติกรรมการเป็นอยู่ของมันก็พอจะบอกได้ว่าปลาตัวไหนที่เราเลี้ยงเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย เมื่อถึงจุด ๆหนึ่งเมื่อเราไปเห็นปลาที่อื่น บางทีการมองดูปลาว่ายสักพัก ก็พอจะคาดเดาได้ว่าตัวไหนคุณชายตัวไหนคุณหญิง ปลาบางตัวมีหน้า มีลูกตา มีทรวดทรงที่เป็นลักษณะเฉพาะว่าข้านี่แหละตัวผู้ หนูนี่แหละตัวเมีย บางทีก็ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ เพราะใช้ความรู้สึกที่สั่งสมมาตัดสินใจ และแน่นอนไม่มีทางถูกร้อย % นอกจากปลาตัวนั้นไข่แล้วเท่านั้น

ที่มา : http://th.discuscommunity.com/index.php?topic=243.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น