วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาออสก้าร์



ปลาออสก้าร์ (OSCAR)

ชื่อสามัญ Oscar, Peacock Cichlid, Peacook Eye, Velet Cichild, Water Buffalo
ชื่อวิทยาศาสตร์ Astronotus Ocellatus
วงศ์ Cichlidae

ถิ่นกำเนิด

อยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอน ปารานา รวมถึงทวีปอเมริกาใต้ ปลาออสก้าร์ จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับปลาหมอเทศ และเป็นปลาที่รู้จักกันทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ เพราะปลาชนิดนี้มีทั้งความสวยงามบวกกับความมีเสน่ห์ในตัวขนาดพอเหมาะและสง่างาม ตลอดจนสีสันที่ไม่มีการตกแต่งเพิ่มเติม เหตุผลนี้จึงทำให้ปลาออสก้าร์ได้รับความนิยมจากหมู่นักเพาะพันธุ์ปลามาโดย ตลอดจนถึงปัจจุบันนี้

ปลาออสก้าร์ที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อจับได้ พบว่าสีสันแปลกตาไม่สวยงามเหมือนกับเพาะพันธุ์ขึ้นเอง เนื่องจากคุณค่าของอาหารที่ปลากินเข้าไปมีน้อย จึงทำให้ระบบสีสันดำ ลำตัวใหญ่ หรืออาจมีสีอื่นๆ ปะปน นิสัยโดยธรรมชาติแล้ว ปลาชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นปลาที่ดุร้าย กินเนื้อและกินสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร สำหรับปัจจุบันนี้มีการเพาะพันธุ์และการปรับปรุงพันธุ์เกิดขึ้นอย่างมากมาย

ลักษณะพันธุ์

ปลาออสก้าร์เมื่อเจริญเติบโตออกจากไข่ ลำตัวจะมีสีเขียว ตามเกล็ดและผิวหนังมีลวดลายประกอบกับแถบสีที่แตกต่างกัน จนถึงระยะเติบโตเต็มที่ ลำตัวจะเปลี่ยนเป็นสีดำ มีลายสีส้มหรือสีส้มแดง ดูสวยงามและสะดุดตากว่าปลาสวยงามชนิดอื่นๆ ลำตัวค่อนข้างกว้างหนา ปากยื่นออกมาเล็กน้อย แนวลำตัวด้านบนโค้งมน ลักษณะพันธุ์ปลาออสก้าร์ที่สวยงาม ซึ่งทำให้ชาวต่างประเทศได้รู้จักเมืองไทยเรื่อยมาในนามของ "ราชาปลาออสก้าร์" โดยแบ่งออกได้ 2 พันธุ์

1. ปลาออสก้าร์ลายเสือ เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม บนลำตัวมีสีส้มหรือส้มสลับสีดำเป็นลวดลาย จึงทำให้ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงมาก ซึ่งปลาชนิดนี้เกิดจากการผสมผสานภายในประเทศไทย และเป็นปลาที่สร้างชื่ออันลือลั่นมาแล้ว และได้สมญานามว่า "ราชาออสก้าร์ลายเสือ"

2. ปลาออสก้าร์ลายทอง ลักษณะลำตัวมีสีส้ม หรือสีส้มแดงตลอดทั้งลำตัว เป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่ได้รับการผสมพันธุ์ภายในประเทศไทย และมีราคาค่อนข้างแพง ปลาออสก้าร์ลายเสือจึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและนอกประเทศมากขึ้นตามลำดับ

การดูอวัยวะเพศปลา

ตามปกติแล้วการดูอวัยวะเพศของปลาออสก้าร์ไม่ใช่เป็รเรื่องยากแก่นักเพาะ พันธุ์มืสมัครเล่นหรือมืออาชีพ วิธีการดูง่ายๆ โดยการดูจากลักษณะภายนอกที่ปรากฏออกมาอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งใช้หลักเกณฑ์พิจารณาส่วนต่างๆ ดังนี้

1. การดูบริเวณส่วนหัว ปลาตัวผู้มีลักษณะนูนสูงขึ้น โค้งมนกว่าตัวเมีย ส่วนปลาตัวเมียส่วนหัวลาดลงและใหญ่กว่าปลาตัวผู้

2. การดูบริเวณส่วนครีบ เช่น ครีบท้อง ครีบทวาร ครีบกระโดง ปลาตัวผู้ยื่นยาวแหลมกว่าปลาตัวเมีย

3. การดูบริเวณช่องเพศ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ปลาตัวผู้จะพบว่ามีติ่งแหลมยื่นออกมา ส่วนปลาตัวเมีย ช่องเพศจะมีลักษณะกลม และส่วนนี้จะยื่นยาวออกมาเมื่อใกล้มีการผสมพันธุ์วางไข่ ส่วนท่อวางไข่ของปลาตัวเมียมีลักษณะทื่อและยื่นยาวกว่าปลาตัวผู้

ปัญหาโรคปลาออสก้าร์

ถึงแม้ปลาออสก้าร์เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามเพียงใดก็ตาม ย่อมมีโรคเข้ามาแทรกแทรงเช่นกัน ส่วนโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีความสำคัญมากที่สุดก็คือ โรคจุดขาว หรือโรคอี๊ด

วิธีการป้องกันรักษา

1. การให้อาหารในปริมาณที่พอเหมาะ อย่าให้อาหารมากเกินความต้องการ เพราะเศษอาหารที่ปลากินเหลือจะตกค้างอยู่ภายในตู้ ทำให้เกิดการหมักหมม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคนี้

2. ผู้เพาะพันธุ์ควรมีการถ่ายเทน้ำวันละ 2 เวลา เช้า-เย็น แต่ก็ต้องระมัดระวังอุณหภูมิของน้ำด้วย ถ้าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันก็อาจทำให้เป็นโรคจุดขาวง่ายขึ้น

3. การใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น คลอแรมเฟนิคอล , เตตร้าซัยคลินควรใส่อาทิตย์ละ 1 ครั้งและผสมเกลือลงไปในน้ำทุกครั้งที่ทำการเปลี่ยนน้ำ โดยใช้ยาปฏิชีวนะประมาณ 3 แคปซูล ใส่กับตู้ปลาขนาด 30ตารางนิ้ว และเติมเกลือป่นหรือเกลือเม็ดประมาณ 1 ต่อ 1,000 ส่วน

ที่มา: http://pet.kapook.com/view1384.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น