วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาเรดเทลแคทฟิช


ปลาเรดเทลแคทฟิช (อังกฤษ: Redtail catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phractocephalus hemioliopterus ในวงศ์ปลากดอเมริกาใต้ (Pimelodidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phractocephalus



มีรูปร่างส่วนหัวแบนกว้างและใหญ่ ปากมีขนาดใหญ่ และอ้าปากได้กว้าง ภายในช่องปากจะมีฟันหยาบ ๆ สีแดงสด ซึ่งฟันลักษณะนี้จะใช้สำหรับดูดกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว โดยไม่เคี้ยวหรือขบกัด แต่จะใช้งับเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุดเท่านั้น บริเวณส่วนหัวมีจุดกระสีน้ำตาลหรือดำกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องและด้านข้างลำตัวสีขาวหรือสีเหลือง ปลายหางและครีบหลังมีสีแดงจัด อันเป็นที่มาของชื่อ มีหนวดทั้งหมดสี่คู่ คู่แรกยาวที่สุดอยู่บริเวณมุมปาก หนวดอื่น ๆ อยู่บริเวณใต้คาง



ปลาเรดเทลแคทฟิช เป็นปลาที่หากินตามท้องน้ำ โดยกินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าและสามารถกินได้ถึงขนาดที่เท่าตัวหรือใหญ่กว่าได้ เรียกว่ากินไม่เลือกเลยครับ อะไรเข้าปากได้มันกินหมด ด้วยการกลืนเข้าไปทั้งตัวโดยไม่เคี้ยว เป็นปลาที่ตะกละ กินจุ กินไม่เลือก (ได้ยินบางคนซื้อไปเลี้ยงแล้วปวดหัวกับค่าอาหารของเจ้าเรดเทลนี่เลย เพราะต้องซื้อปลาเหยื่อให้ประจำ) และเจริญเติบโตได้เร็วมาก โดยเฉพาะลูกปลา พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, โอริโนโค และเอสเซคิวโบ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Cajaro และ Pirarara


ตัวนี้ขนาดประมาณ 30 นิ้ว ตู้เล็กไปเลยทีเดียว

มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1-1.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 51.5 กิโลกรัม
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงกันเพื่อบริโภคแทนเนื้อปลาคัง (Hemibagrus wyckioides) ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านทดแทน เนื่องด้วยการที่เพาะขยายพันธุ์ง่ายและเติบโตเร็ว อีกทั้งเนื้อยังมีรสชาติดี และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นปลาจากต่างประเทศที่มีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว มีราคาขายที่ไม่แพง ในปัจจุบัน ยังมีการผสมข้ามพันธุ์กับปลาในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส (Pseudoplatystoma fasciatum) เกิดเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ หรือมีสีสันที่แตกต่างไปจากปลาดั้งเดิมอีกด้วย เช่น สีขาวล้วน หรือสีดำทั้งลำตัว หรือปลาเผือก ซึ่งปลาที่มีสีสันแปลกเช่นนี้จะมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าปลาปกติมาก


จัดเป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด ผิวด้านสาก ลำตัวใหญ่ มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดี ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีดำ คาดขาวยาวตั้งแต่ ปากจดปลายหาง มีจุดดำบริเวณส่วนหัว ครีบหางเป็นสีแดง มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินเก่ง โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้



โดยทั่วไป ร้านขายปลาจะเสนอขาย ลูกปลาเรดเทล แคทฟิช ขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว และสามารถดูแลในตู้ที่มีขนาดเล็กประมาณ 24 นิ้วได้ แต่ลุกปลาเรดเทล แคทฟิชนี้ก็ไม่สารถจะอยู่ในตู้ขนาดเล็กได้เป็นเวลานาน
เพราะแคทฟิชเหล่านี้ เป็นปลาเติบโตอย่างรวดเร็วถ้าให้อาหารอย่างเหมาสมกับขนาดของปลา. คุณจะต้องปรับขนาดของตู้ หรือ บ่อที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับขนาดตัวปลา บางที อาจจะต้องใส่ตู้ ที่ใหญ่ขนาด 1500-2000 แกลลอน. ใช่คุณอ่านได้ถูกต้องแล้วขนาดถึง 1500-2000 แกลลอน.(ตู้ขนาด 60x20x20 คิดเป็นประมาณ 100 แกลลอน) เพราะคุณอย่าลืมนะครับว่าปลาสามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ถึงประมาณ 1.5 เมตร และมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปีเลยทีเดียว

การให้อาหาร
ตามธรรมชาติแล้ว เรดเทลแคทฟิช สามารถกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ลูกปลา หรือแม้กระทั่งผลไม้
ลูกปลาเรดเทล ควรจะให้อาหารสองครั้ง ต่อหนึ่งวัน และ ไม่ควรที่จะให้อาหารสดพวกปลาเหยื่อแก่ลูกปลาเรดเทล ตั้งแต่ยังเล็ก มิฉะนั้น ลูกปลาอาจจะไม่ยอมกินอาหารที่ตาย หรือ อาหารประเภทอื่นในภายหลัง หนอนแดง ไส้เดือน อาหารเม็ดที่มีคุณภาพดีที่ออกแบบสำหรับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับลูกปลา เรดเทล
เมื่อ เรดเทล แคทฟิช เริ่มโต เราสามารถ ให้อาหารลดลง เหลือ วันละ ครั้งได้ สามารถให้ อาหารที่หลากหลายได้ เช่น ปลาเหยื่อ ปู กุ้งตัวเล็ก เนื้อปลาอื่นๆ บางท่านก็จะให้เนื้อไก่ หรือหัวใจหมูก็สามารถให้ได้นานๆ ครั้ง.

เมื่อ เรดเทล แคทฟิช โตเต็มวัย สามารถให้อาหาร หนึ่ง หรือ สองครั้ง ต่อ สัปดาห์เมื่อโตเต็มวัย เรดเทล แคทฟิช จะไม่กินหนอนแดง หรือ อาหารเม็ดอีกเลย เพราะอย่างไร เรดเทล แคทฟิช ก็เป็นปลาประเภทกินเนื้อ เราควรจะให้อาหาร เรดเทล แคทฟิช ด้วย กุ้ง ปูและ หัวใจหมู อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีน สำหรับ เรทเทล แคทฟิช ที่ดีที่สุด

ที่มา : http://www.mornorfishclub.com/forum.php?mod=viewthread&tid=2347&page=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น