การเลี้ยงปลาตู้
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555
ปลาตระกูล DOTTYBACK
ปลาตระกูล DOTTYBACK
- ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า
( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด
ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
3.เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
4.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิ
เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้
ข้อเสีย -เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น
ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/
ปลาตระกูล Wrasse
ปลาตระกูล Wrasse
สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยงง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอนอาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง
ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี
3.เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา
4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน
ข้อเสีย -เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ที่มา : http://gait14.wordpress.com/5763345-2/3905-2/
ปลาแดมเซล DAMSEL FISH
ปลาแดมเซล DAMSEL FISH
- ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )
ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
และมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว
ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
ข้อเสีย
1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้น
นีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้
2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้
3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้
อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก
4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ
ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/2010/04/damsel-fish.html
ปลาตระกูลแทงค์(TANK FISH)
ปลาตระกูลแทงค์(TANK FISH)
- ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 )
เป็นปลาที่มี หลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับปลา ที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและถ่าย ของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ
ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่ชอบกิน สาหร่ายหรือสามารถให้ผักกาดกินเป็นอาหารได้
2.เป็นปลาที่นิสัยไม่ดุ ร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้
3.เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
4.มีหลายราคา ตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงแพง
ข้อเสีย
1.เนื่องจากเป็นปลาที่กินมากและขับถ่ายของเสียมาก จึงจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับนิสัยที่ชอบว่ายน้ำไปมาของมันด้วย
2.ตู้ที่เลี้ยงควรเป็นตู้ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน เพื่อจะได้มีระบบที่เสถียรและ สามารถรองรับของเสียที่เกิดขึ้นจากตัวปลาได้
3.เป็นปลาที่เป็นจุดขาว ง่ายมาก ดังนั้นอุณหภูมิจะต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/2010/04/blog-post_1104.html
ปลาเรดเทลแคทฟิช
ปลาเรดเทลแคทฟิช (อังกฤษ: Redtail catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phractocephalus hemioliopterus ในวงศ์ปลากดอเมริกาใต้ (Pimelodidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phractocephalus
มีรูปร่างส่วนหัวแบนกว้างและใหญ่ ปากมีขนาดใหญ่ และอ้าปากได้กว้าง ภายในช่องปากจะมีฟันหยาบ ๆ สีแดงสด ซึ่งฟันลักษณะนี้จะใช้สำหรับดูดกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว โดยไม่เคี้ยวหรือขบกัด แต่จะใช้งับเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุดเท่านั้น บริเวณส่วนหัวมีจุดกระสีน้ำตาลหรือดำกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องและด้านข้างลำตัวสีขาวหรือสีเหลือง ปลายหางและครีบหลังมีสีแดงจัด อันเป็นที่มาของชื่อ มีหนวดทั้งหมดสี่คู่ คู่แรกยาวที่สุดอยู่บริเวณมุมปาก หนวดอื่น ๆ อยู่บริเวณใต้คาง
ปลาเรดเทลแคทฟิช เป็นปลาที่หากินตามท้องน้ำ โดยกินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าและสามารถกินได้ถึงขนาดที่เท่าตัวหรือใหญ่กว่าได้ เรียกว่ากินไม่เลือกเลยครับ อะไรเข้าปากได้มันกินหมด ด้วยการกลืนเข้าไปทั้งตัวโดยไม่เคี้ยว เป็นปลาที่ตะกละ กินจุ กินไม่เลือก (ได้ยินบางคนซื้อไปเลี้ยงแล้วปวดหัวกับค่าอาหารของเจ้าเรดเทลนี่เลย เพราะต้องซื้อปลาเหยื่อให้ประจำ) และเจริญเติบโตได้เร็วมาก โดยเฉพาะลูกปลา พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, โอริโนโค และเอสเซคิวโบ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Cajaro และ Pirarara
ตัวนี้ขนาดประมาณ 30 นิ้ว ตู้เล็กไปเลยทีเดียว
มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1-1.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 51.5 กิโลกรัม
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงกันเพื่อบริโภคแทนเนื้อปลาคัง (Hemibagrus wyckioides) ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านทดแทน เนื่องด้วยการที่เพาะขยายพันธุ์ง่ายและเติบโตเร็ว อีกทั้งเนื้อยังมีรสชาติดี และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นปลาจากต่างประเทศที่มีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว มีราคาขายที่ไม่แพง ในปัจจุบัน ยังมีการผสมข้ามพันธุ์กับปลาในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส (Pseudoplatystoma fasciatum) เกิดเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ หรือมีสีสันที่แตกต่างไปจากปลาดั้งเดิมอีกด้วย เช่น สีขาวล้วน หรือสีดำทั้งลำตัว หรือปลาเผือก ซึ่งปลาที่มีสีสันแปลกเช่นนี้จะมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าปลาปกติมาก
จัดเป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด ผิวด้านสาก ลำตัวใหญ่ มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดี ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีดำ คาดขาวยาวตั้งแต่ ปากจดปลายหาง มีจุดดำบริเวณส่วนหัว ครีบหางเป็นสีแดง มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินเก่ง โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้
โดยทั่วไป ร้านขายปลาจะเสนอขาย ลูกปลาเรดเทล แคทฟิช ขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว และสามารถดูแลในตู้ที่มีขนาดเล็กประมาณ 24 นิ้วได้ แต่ลุกปลาเรดเทล แคทฟิชนี้ก็ไม่สารถจะอยู่ในตู้ขนาดเล็กได้เป็นเวลานาน
เพราะแคทฟิชเหล่านี้ เป็นปลาเติบโตอย่างรวดเร็วถ้าให้อาหารอย่างเหมาสมกับขนาดของปลา. คุณจะต้องปรับขนาดของตู้ หรือ บ่อที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับขนาดตัวปลา บางที อาจจะต้องใส่ตู้ ที่ใหญ่ขนาด 1500-2000 แกลลอน. ใช่คุณอ่านได้ถูกต้องแล้วขนาดถึง 1500-2000 แกลลอน.(ตู้ขนาด 60x20x20 คิดเป็นประมาณ 100 แกลลอน) เพราะคุณอย่าลืมนะครับว่าปลาสามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ถึงประมาณ 1.5 เมตร และมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปีเลยทีเดียว
การให้อาหาร
ตามธรรมชาติแล้ว เรดเทลแคทฟิช สามารถกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ลูกปลา หรือแม้กระทั่งผลไม้
ลูกปลาเรดเทล ควรจะให้อาหารสองครั้ง ต่อหนึ่งวัน และ ไม่ควรที่จะให้อาหารสดพวกปลาเหยื่อแก่ลูกปลาเรดเทล ตั้งแต่ยังเล็ก มิฉะนั้น ลูกปลาอาจจะไม่ยอมกินอาหารที่ตาย หรือ อาหารประเภทอื่นในภายหลัง หนอนแดง ไส้เดือน อาหารเม็ดที่มีคุณภาพดีที่ออกแบบสำหรับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับลูกปลา เรดเทล
เมื่อ เรดเทล แคทฟิช เริ่มโต เราสามารถ ให้อาหารลดลง เหลือ วันละ ครั้งได้ สามารถให้ อาหารที่หลากหลายได้ เช่น ปลาเหยื่อ ปู กุ้งตัวเล็ก เนื้อปลาอื่นๆ บางท่านก็จะให้เนื้อไก่ หรือหัวใจหมูก็สามารถให้ได้นานๆ ครั้ง.
เมื่อ เรดเทล แคทฟิช โตเต็มวัย สามารถให้อาหาร หนึ่ง หรือ สองครั้ง ต่อ สัปดาห์เมื่อโตเต็มวัย เรดเทล แคทฟิช จะไม่กินหนอนแดง หรือ อาหารเม็ดอีกเลย เพราะอย่างไร เรดเทล แคทฟิช ก็เป็นปลาประเภทกินเนื้อ เราควรจะให้อาหาร เรดเทล แคทฟิช ด้วย กุ้ง ปูและ หัวใจหมู อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีน สำหรับ เรทเทล แคทฟิช ที่ดีที่สุด
ที่มา : http://www.mornorfishclub.com/forum.php?mod=viewthread&tid=2347&page=1
ปลาลูโซโซ่
Lusosso ลูโซโซ่
ชื่อไทย ลูโซโซ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Distichodus lusosso
ชื่อสามัญ Long snout distichodus
ถิ่นกำเนิด ทวีปแอฟริกาในตอนกลางและตอนใต้ของแม่น้ำคองโก และทะเลสาปแทงแกนยิกา
ขนาด ประมาณ 24 นิ้วในธรรมชาติ ประมาณ 12 นิ้วในตู้เลี้ยง
ลักษณะรูปร่าง เป็นปลาในอันดับ Characiformes ที่มีขนาดใหญ่ ในปลาขนาดเล็กมีพื้นลำตัวเป็นสีทองอมแดงมีลายดำ 6 เส้นคาดเป็นแนวตั้งตลอด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป สีของลำตัวจะคล้ำลงเป็นสีน้ำตาลอมเขียว ลายจะไม่คมชัดเหมือนปลาขนาดเล็ก ทั้งปลาขนาดเล็กและใหญ่มีครีบต่างๆเป็นสีออกส้มแดง
การเลี้ยงดู
ลูโซโซ่เป็นปลาที่ว่ายน้ำว่องไว และว่ายได้ทุกระดับน้ำ ตู้เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหญ่ ขนาดตู้ที่แนะนำคือ ตู้ขนาด 60 นิ้วขึ้นไป เพื่อรองรับขนาดโตเต็มที่ของมัน ตู้เลี้ยงควรมีฝาปิดมิดชิดเพราะเป็นปลาชนิดที่กระโดดเก่ง ไม่จำเป็นต้องตกแต่งตู้เลี้ยงมากมายอะไร ปลากลุ่มนี้ปรับตัวกับสภาพตู้เลี้ยงโล่งได้ดี ไม่ควรตกแต่งตู้เลี้ยงด้วยพรรณไม้น้ำ เพราะมีอุปนิสัยชอบกัดแทะ และกินพืชน้ำเป็นอาหาร ส่วนระบบส่องสว่างนั้นจะช่วยได้เรื่องความสวยงามของปลา สีสันของลำตัวจะเป็นสีส้มแดงแวววาวเมื่อถูกแสงไฟ แต่เมื่ออยู่ในที่มืดจะไม่สวยงามนัก
เรื่องของน้ำ เป็นปลาที่ไม่ต้องการค่าน้ำที่สลับซับซ้อนอะไร เพียงแค่น้ำสะอาดปราศจากคลอรีนก็เลี้ยงปลากลุ่มนี้ได้สบาย
อาหาร ลูโซโซ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นหลัก (herbivorous) ในที่เลี้ยงจัดเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จนดูเหมือนเป็นปลาจะค่อนข้างชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เป็นปลาที่แทบจะไม่มีปัญหาเรื่องการกิน บางครั้งพบว่าหลังจากที่ปล่อยลงเลี้ยงได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ขึ้นมากินอาหารสำเร็จรูปได้เลย ในที่เลี้ยงสามารถกินอาหารได้แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กุ้งฝอย หนอนนก ไส้เดือนฝอย หนอนแดง ไรทะเล กุ้งทะเลสำหรับปรุงอาหารก็ได้นำมาแกะเปลือกและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผู้เลี้ยงควรสลับให้อาหารประเภทพืชผักบ้างตามโอกาส เช่น กะหล่ำปลีหั่นฝอย ผักโขมต้ม หรือจะให้เป็นอาหารสำเร็จรูปสูตรสำหรับปลากินพืชก็ได้
เพื่อนร่วมตู้ หรือ Tankmate จริงแล้วๆ ลูโซโซ่เป็นปลาที่ค่อนข้างเรียบร้อยกับปลาชนิดอื่นๆ มักจะทะเลาะในระหว่างพวกเดียวกันเองเสียมากกว่า จึงไม่ควรเลี้ยงปลากลุ่มนี้เป็นคู่เพราะมักจะเกิดปัญหาตบตีกัน การเลี้ยงรวมเป็นฝูงหลายๆตัวจะช่วยลดปัญหาการต่อสู้ระหว่างกันได้ดี หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินมาว่า “ลูโซโซ่เป็นปลาที่ดุ” จะไปเหมารวมแบบนั้นก็ไม่ได้เสียทีเดียว ซึ่งสภาพการปรับตัวให้เข้ากับปลาชนิดอื่นๆนั้นมีเรื่องนิสัยของปลาแต่ละตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพราะจากประสบการณ์ ปลาชนิดนี้จะมีทั้งประเภทที่ก้าวร้าว ชอบไปไล่กวด หรือตอดหางปลาอื่น บางตัวก็เป็นปลาที่ขี้แย ขี่ตื่นตกใจ สามารถรวมกับปลาขนาดเล็กๆได้ก็มี แต่ชนิดของเพื่อนร่วมตู้ที่แนะนำคือปลาขนาดกลาง เช่น กลุ่มปลาบาร์บขนาดกลางของทวีปเอเชีย เช่น ฉลามหางไหม้ ตะเพียนชนิดต่างๆ และคาราซินขนาดกลางอื่นๆ เช่น ซิลเวอร์ดอลล่าร์ รวมถึงกลุ่มปลาพื้นตู้พวกปลาแพะ ปลาหมู ปลาแมว ปลาซักเกอร์ชนิดต่างๆ เป็นต้น ในปัจจุบัน นิยมเลี้ยงปลากลุ่มนี้เป็นเพื่อนร่วมตู้ของปลาอะโรวาน่ากันอย่างกว้างขวาง
การเพาะพันธุ์ ถึงแม้ว่าจะสามารถเลี้ยงลูโซโซ่จนมีขนาดได้ใหญ่โตมากในที่เลี้ยง จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีรายงานการเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ ปลาที่พบเห็นในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติทั้งหมด
ที่มา : http://www.proaquaclub.com/proscoop-Lusosso-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%88-19.html
ปลาฟิงเกอร์
ปลาฟิงเกอร์ หรือ ปลาเฉี่ยวแอฟริกา (อังกฤษ: African moony, Mono sebae) เป็นปลาชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเฉี่ยว (Monodactylidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monodactylus sebae
มีรูปร่างคล้ายกับปลาเฉี่ยวหินหรือปลาผีเสื้อเงิน (M. argenteus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันคือ ปลาฟิงเกอร์จะไม่มีความแวววาวของเกล็ดเท่า และไม่มีเหลือบสีเหลืองสดที่ครีบหลังและครีบท้องเหมือนปลาเฉี่ยวหิน และมีลายแถบสีดำอีกแถบบริเวณก่อนถึงโคนครีบหาง และมีลักษณะเด่นคือ ครีบท้องในปลาที่โตเต็มที่แล้วจะยาวย้วยห้อยลงมาใต้ท้องดูเหมือนนิ้วมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก "ฟิงเกอร์"[1]
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่กว่าปลาเฉี่ยวหิน แพร่กระจายพันธุ์อยู่บริเวณปากแม่น้ำและป่าโกงกางของชายฝั่งทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก ตั้งแต่หมู่เกาะคะเนรีจนถึงอังโกลา
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม นิสัยก้าวร้าวและว่ายน้ำได้เร็วมาก จึงไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงรวมกับปลาที่ว่ายน้ำช้ากว่า
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)