วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาตระกูล DOTTYBACK


ปลาตระกูล DOTTYBACK
- ปลาตระกูล dottyback ( ระดับความยากในเลี้ยง : 8.5 )
เป็นปลาตัวเล็กที่มีสีสันฉูดฉาด ที่พบมากได้แก่ ปลาสตอเบอรี่ ปลาแพคคาเนลล่า
( หวานเย็น ) ปลาไดเดรียม่า ปลารอยอลแกรมม่า ซึ่งเป็นปลาที่มีสีชมพูทั้งตัว อาจมีสีเหลือง
สลับครึ่งบน ครึ่งล่างแล้วแต่ชนิด

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2. มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา
3.เป็นปลาที่ราคาไม่แพงมาก ยกเว้น รอยัลแกรมม่าที่มีราคาค่อนข้างสูง
4.เป็นปลาที่ค่อนข้างทนในหลายๆสภาวะแวดล้อม จัดว่าเลี้ยงง่าย แต่ถ้าอุณหภูมิ
เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจเป็นจุดขาวได้


ข้อเสีย -เป็นปลาที่ดุมาก หวงถิ่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น

ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/

ปลาตระกูล Wrasse


ปลาตระกูล Wrasse

สำหรับปลาตระกูลนี้บางชนิดก็เลี้ยงยาก เช่น ปลาพยาบาล มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่เลี้ยงง่าย เช่น Sixline wrasse, ปลากัดทะเล , แก้วเหลือง , แก้วแดง เป็นต้น ซึ่งเวลานอนอาจจะมุดทราย หรือ สร้างเมือกขึ้นมาห่อหุ้มตัวเอง

ข้อดี 1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด

2.สามารถทนสภาวะแวดล้อมต่าง ๆได้ดี

3.เป็นปลาเล็ก ที่มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาดสะดุดตา

4.เป็นปลาที่นิสัยสงบ ไม่ดุร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้รวมทั้งพวกเดียวกัน

ข้อเสีย -เป็นปลาที่ค่อนข้างอ่อนแอในบางภาวะ อาจตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ที่มา : http://gait14.wordpress.com/5763345-2/3905-2/

ปลาแดมเซล DAMSEL FISH


ปลาแดมเซล DAMSEL FISH

- ปลาตระกูลแดมเซล ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 10 )

ปลาชนิดนี้ส่วนมากจะมีสีน้ำเงินที่เราพบเห็นตามท้องตลาด มีหลากหลายชนิดทั้ง
แดมเซลหางเหลือง,บลูแดมเซล,เลมอนแดมเซล รวมถึงปลาโดมิโน ซึ่งมีสีดำ
และมีจุดเล็กๆ สีขาว 3 จุดบนตัว และปลาม้าลายที่มีลายขาวสลับดำบนลำตัว

ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่ายมาก ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด
2.สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้แทบทุกสภาวะ เลี้ยงง่าย ตายยาก
3.เป็นปลาที่ราคาถูก หาได้ง่าย
4.มีสีสันสวยงาม ฉูดฉาด สะดุดตา

ข้อเสีย
1.เป็นปลาที่ดุมากๆ หวงถื่น ชอบกัดปลาตัวอื่น โดยเฉพาะปลาชนิดเดียวกันอาจ
กัดจนถึงตายได้ ดังนั้นจึงควรเลี้ยงได้ตู้ละ 1 ตัวเท่านั้น ( ข้อเสียมากๆ ) ยกเว้น
นีออนแดมเซลที่ดุน้อยที่สุดและสามารถเลี้ยงได้มากกว่า 1 ตัวในตู้
2.ชอบขุดพื้นเป็นรู ทำให้ทรายฟุ้งกระจาย และอาจทำให้หินในตู้ถล่มได้
3.เป็นปลาที่ว่ายน้ำเร็วมาก หลบเก่ง จึงทำให้จับยากมากเวลาจะเอาออกจากตู้
อาจต้องรื้อหินในตู้ทั้งหมดเพื่อทำการจับออก
4.สำหรับโดมิโนและม้าลายจะโตเร็วมาก และจะยิ่งเพิ่มความดุขึ้นเรื่อย ๆ

ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/2010/04/damsel-fish.html

ปลาตระกูลแทงค์(TANK FISH)


ปลาตระกูลแทงค์(TANK FISH)
- ปลาตระกูลแทงค์ ( ระดับความง่ายในการเลี้ยง : 7 )
เป็นปลาที่มี หลายพันธุ์ เช่น Blue tang ,Yellow tang ,Purple tang เป็นต้น สำหรับปลา ที่แนะนำสำหรับมือใหม่ได้แก่ Brown tang , Baby tang เป็นปลาที่กินเยอะและถ่าย ของเสียเยอะ ชอบว่ายน้ำ


ข้อดี
1.เป็นปลาที่กินอาหารง่าย ทั้งอาหารสำเร็จรูป และ อาหารสด นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่ชอบกิน สาหร่ายหรือสามารถให้ผักกาดกินเป็นอาหารได้
2.เป็นปลาที่นิสัยไม่ดุ ร้าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นๆได้
3.เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม สะดุดตา มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
4.มีหลายราคา ตั้งแต่ ปานกลางไปจนถึงแพง

ข้อเสีย
1.เนื่องจากเป็นปลาที่กินมากและขับถ่ายของเสียมาก จึงจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงในตู้ที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น ประกอบกับนิสัยที่ชอบว่ายน้ำไปมาของมันด้วย
2.ตู้ที่เลี้ยงควรเป็นตู้ ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน เพื่อจะได้มีระบบที่เสถียรและ สามารถรองรับของเสียที่เกิดขึ้นจากตัวปลาได้
3.เป็นปลาที่เป็นจุดขาว ง่ายมาก ดังนั้นอุณหภูมิจะต้องเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด

ที่มา : http://topaquafish.blogspot.com/2010/04/blog-post_1104.html

ปลาเรดเทลแคทฟิช


ปลาเรดเทลแคทฟิช (อังกฤษ: Redtail catfish) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phractocephalus hemioliopterus ในวงศ์ปลากดอเมริกาใต้ (Pimelodidae) จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Phractocephalus



มีรูปร่างส่วนหัวแบนกว้างและใหญ่ ปากมีขนาดใหญ่ และอ้าปากได้กว้าง ภายในช่องปากจะมีฟันหยาบ ๆ สีแดงสด ซึ่งฟันลักษณะนี้จะใช้สำหรับดูดกลืนอาหารเข้าไปทั้งตัว โดยไม่เคี้ยวหรือขบกัด แต่จะใช้งับเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุดเท่านั้น บริเวณส่วนหัวมีจุดกระสีน้ำตาลหรือดำกระจายอยู่ทั่ว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดง ส่วนท้องและด้านข้างลำตัวสีขาวหรือสีเหลือง ปลายหางและครีบหลังมีสีแดงจัด อันเป็นที่มาของชื่อ มีหนวดทั้งหมดสี่คู่ คู่แรกยาวที่สุดอยู่บริเวณมุมปาก หนวดอื่น ๆ อยู่บริเวณใต้คาง



ปลาเรดเทลแคทฟิช เป็นปลาที่หากินตามท้องน้ำ โดยกินอาหารได้แก่ ปลาขนาดเล็กกว่าและสามารถกินได้ถึงขนาดที่เท่าตัวหรือใหญ่กว่าได้ เรียกว่ากินไม่เลือกเลยครับ อะไรเข้าปากได้มันกินหมด ด้วยการกลืนเข้าไปทั้งตัวโดยไม่เคี้ยว เป็นปลาที่ตะกละ กินจุ กินไม่เลือก (ได้ยินบางคนซื้อไปเลี้ยงแล้วปวดหัวกับค่าอาหารของเจ้าเรดเทลนี่เลย เพราะต้องซื้อปลาเหยื่อให้ประจำ) และเจริญเติบโตได้เร็วมาก โดยเฉพาะลูกปลา พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, โอริโนโค และเอสเซคิวโบ โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Cajaro และ Pirarara


ตัวนี้ขนาดประมาณ 30 นิ้ว ตู้เล็กไปเลยทีเดียว

มีขนาดโตเต็มที่ได้ประมาณ 1-1.5 เมตร น้ำหนักหนักได้ถึง 51.5 กิโลกรัม
เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา และนิยมบริโภคกันทั่วไป โดยเฉพาะในประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงกันเพื่อบริโภคแทนเนื้อปลาคัง (Hemibagrus wyckioides) ซึ่งเป็นปลาพื้นบ้านทดแทน เนื่องด้วยการที่เพาะขยายพันธุ์ง่ายและเติบโตเร็ว อีกทั้งเนื้อยังมีรสชาติดี และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย ซึ่งจัดว่าเป็นปลาจากต่างประเทศที่มีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปีแล้ว มีราคาขายที่ไม่แพง ในปัจจุบัน ยังมีการผสมข้ามพันธุ์กับปลาในวงศ์เดียวกัน เช่น ปลาไทเกอร์โชวเวลโนส (Pseudoplatystoma fasciatum) เกิดเป็นลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ หรือมีสีสันที่แตกต่างไปจากปลาดั้งเดิมอีกด้วย เช่น สีขาวล้วน หรือสีดำทั้งลำตัว หรือปลาเผือก ซึ่งปลาที่มีสีสันแปลกเช่นนี้จะมีราคาซื้อขายที่แพงกว่าปลาปกติมาก


จัดเป็น ปลาหนังไม่มีเกล็ด ผิวด้านสาก ลำตัวใหญ่ มีหนวด 3 คู่ ใช้คลำทางหาอาหาร เนื่องจากมีสายตา ที่ไม่ค่อยดี ครีบอกมีเงี่ยงแข็ง พื้นลำตัวสีดำ คาดขาวยาวตั้งแต่ ปากจดปลายหาง มีจุดดำบริเวณส่วนหัว ครีบหางเป็นสีแดง มีอุปนิสัย ก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกินปลา ที่มีขนาดพอดี หรือใหญ่กว่า ปาก เป็นอาหารได้ กินเก่ง โตไว ถ้าจะเลี้ยงรวมกับปลาอื่น ควรเป็นปลาขนาดใหญ่ด้วยกัน อาทิ อะโรวาน่า หรือ ปลายักษ์ ขนาดอื่นๆ ที่ ว่ายน้ำ อยู่ในคนละชั้นโซน เนื่องจาก ปกติ ปลาชนิดนี้ มักจะอยู่ตามพื้นตู้



โดยทั่วไป ร้านขายปลาจะเสนอขาย ลูกปลาเรดเทล แคทฟิช ขนาดประมาณ 2-4 นิ้ว และสามารถดูแลในตู้ที่มีขนาดเล็กประมาณ 24 นิ้วได้ แต่ลุกปลาเรดเทล แคทฟิชนี้ก็ไม่สารถจะอยู่ในตู้ขนาดเล็กได้เป็นเวลานาน
เพราะแคทฟิชเหล่านี้ เป็นปลาเติบโตอย่างรวดเร็วถ้าให้อาหารอย่างเหมาสมกับขนาดของปลา. คุณจะต้องปรับขนาดของตู้ หรือ บ่อที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับขนาดตัวปลา บางที อาจจะต้องใส่ตู้ ที่ใหญ่ขนาด 1500-2000 แกลลอน. ใช่คุณอ่านได้ถูกต้องแล้วขนาดถึง 1500-2000 แกลลอน.(ตู้ขนาด 60x20x20 คิดเป็นประมาณ 100 แกลลอน) เพราะคุณอย่าลืมนะครับว่าปลาสามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ถึงประมาณ 1.5 เมตร และมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 15-20 ปีเลยทีเดียว

การให้อาหาร
ตามธรรมชาติแล้ว เรดเทลแคทฟิช สามารถกินอาหารได้หลากหลาย เช่น ลูกปลา หรือแม้กระทั่งผลไม้
ลูกปลาเรดเทล ควรจะให้อาหารสองครั้ง ต่อหนึ่งวัน และ ไม่ควรที่จะให้อาหารสดพวกปลาเหยื่อแก่ลูกปลาเรดเทล ตั้งแต่ยังเล็ก มิฉะนั้น ลูกปลาอาจจะไม่ยอมกินอาหารที่ตาย หรือ อาหารประเภทอื่นในภายหลัง หนอนแดง ไส้เดือน อาหารเม็ดที่มีคุณภาพดีที่ออกแบบสำหรับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับลูกปลา เรดเทล
เมื่อ เรดเทล แคทฟิช เริ่มโต เราสามารถ ให้อาหารลดลง เหลือ วันละ ครั้งได้ สามารถให้ อาหารที่หลากหลายได้ เช่น ปลาเหยื่อ ปู กุ้งตัวเล็ก เนื้อปลาอื่นๆ บางท่านก็จะให้เนื้อไก่ หรือหัวใจหมูก็สามารถให้ได้นานๆ ครั้ง.

เมื่อ เรดเทล แคทฟิช โตเต็มวัย สามารถให้อาหาร หนึ่ง หรือ สองครั้ง ต่อ สัปดาห์เมื่อโตเต็มวัย เรดเทล แคทฟิช จะไม่กินหนอนแดง หรือ อาหารเม็ดอีกเลย เพราะอย่างไร เรดเทล แคทฟิช ก็เป็นปลาประเภทกินเนื้อ เราควรจะให้อาหาร เรดเทล แคทฟิช ด้วย กุ้ง ปูและ หัวใจหมู อาหารเหล่านี้เป็นแหล่งของโปรตีน สำหรับ เรทเทล แคทฟิช ที่ดีที่สุด

ที่มา : http://www.mornorfishclub.com/forum.php?mod=viewthread&tid=2347&page=1

ปลาลูโซโซ่


Lusosso ลูโซโซ่

ชื่อไทย ลูโซโซ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Distichodus lusosso
ชื่อสามัญ Long snout distichodus
ถิ่นกำเนิด ทวีปแอฟริกาในตอนกลางและตอนใต้ของแม่น้ำคองโก และทะเลสาปแทงแกนยิกา
ขนาด ประมาณ 24 นิ้วในธรรมชาติ ประมาณ 12 นิ้วในตู้เลี้ยง
ลักษณะรูปร่าง เป็นปลาในอันดับ Characiformes ที่มีขนาดใหญ่ ในปลาขนาดเล็กมีพื้นลำตัวเป็นสีทองอมแดงมีลายดำ 6 เส้นคาดเป็นแนวตั้งตลอด เมื่อปลามีขนาดใหญ่ประมาณ 6 นิ้วขึ้นไป สีของลำตัวจะคล้ำลงเป็นสีน้ำตาลอมเขียว ลายจะไม่คมชัดเหมือนปลาขนาดเล็ก ทั้งปลาขนาดเล็กและใหญ่มีครีบต่างๆเป็นสีออกส้มแดง
การเลี้ยงดู
ลูโซโซ่เป็นปลาที่ว่ายน้ำว่องไว และว่ายได้ทุกระดับน้ำ ตู้เลี้ยงจึงควรมีขนาดใหญ่ ขนาดตู้ที่แนะนำคือ ตู้ขนาด 60 นิ้วขึ้นไป เพื่อรองรับขนาดโตเต็มที่ของมัน ตู้เลี้ยงควรมีฝาปิดมิดชิดเพราะเป็นปลาชนิดที่กระโดดเก่ง ไม่จำเป็นต้องตกแต่งตู้เลี้ยงมากมายอะไร ปลากลุ่มนี้ปรับตัวกับสภาพตู้เลี้ยงโล่งได้ดี ไม่ควรตกแต่งตู้เลี้ยงด้วยพรรณไม้น้ำ เพราะมีอุปนิสัยชอบกัดแทะ และกินพืชน้ำเป็นอาหาร ส่วนระบบส่องสว่างนั้นจะช่วยได้เรื่องความสวยงามของปลา สีสันของลำตัวจะเป็นสีส้มแดงแวววาวเมื่อถูกแสงไฟ แต่เมื่ออยู่ในที่มืดจะไม่สวยงามนัก
เรื่องของน้ำ เป็นปลาที่ไม่ต้องการค่าน้ำที่สลับซับซ้อนอะไร เพียงแค่น้ำสะอาดปราศจากคลอรีนก็เลี้ยงปลากลุ่มนี้ได้สบาย
อาหาร ลูโซโซ่เป็นปลาที่กินพืชเป็นหลัก (herbivorous) ในที่เลี้ยงจัดเป็นปลาที่กินอาหารได้ง่าย จนดูเหมือนเป็นปลาจะค่อนข้างชอบกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เป็นปลาที่แทบจะไม่มีปัญหาเรื่องการกิน บางครั้งพบว่าหลังจากที่ปล่อยลงเลี้ยงได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ขึ้นมากินอาหารสำเร็จรูปได้เลย ในที่เลี้ยงสามารถกินอาหารได้แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น กุ้งฝอย หนอนนก ไส้เดือนฝอย หนอนแดง ไรทะเล กุ้งทะเลสำหรับปรุงอาหารก็ได้นำมาแกะเปลือกและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผู้เลี้ยงควรสลับให้อาหารประเภทพืชผักบ้างตามโอกาส เช่น กะหล่ำปลีหั่นฝอย ผักโขมต้ม หรือจะให้เป็นอาหารสำเร็จรูปสูตรสำหรับปลากินพืชก็ได้
เพื่อนร่วมตู้ หรือ Tankmate จริงแล้วๆ ลูโซโซ่เป็นปลาที่ค่อนข้างเรียบร้อยกับปลาชนิดอื่นๆ มักจะทะเลาะในระหว่างพวกเดียวกันเองเสียมากกว่า จึงไม่ควรเลี้ยงปลากลุ่มนี้เป็นคู่เพราะมักจะเกิดปัญหาตบตีกัน การเลี้ยงรวมเป็นฝูงหลายๆตัวจะช่วยลดปัญหาการต่อสู้ระหว่างกันได้ดี หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินมาว่า “ลูโซโซ่เป็นปลาที่ดุ” จะไปเหมารวมแบบนั้นก็ไม่ได้เสียทีเดียว ซึ่งสภาพการปรับตัวให้เข้ากับปลาชนิดอื่นๆนั้นมีเรื่องนิสัยของปลาแต่ละตัวเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพราะจากประสบการณ์ ปลาชนิดนี้จะมีทั้งประเภทที่ก้าวร้าว ชอบไปไล่กวด หรือตอดหางปลาอื่น บางตัวก็เป็นปลาที่ขี้แย ขี่ตื่นตกใจ สามารถรวมกับปลาขนาดเล็กๆได้ก็มี แต่ชนิดของเพื่อนร่วมตู้ที่แนะนำคือปลาขนาดกลาง เช่น กลุ่มปลาบาร์บขนาดกลางของทวีปเอเชีย เช่น ฉลามหางไหม้ ตะเพียนชนิดต่างๆ และคาราซินขนาดกลางอื่นๆ เช่น ซิลเวอร์ดอลล่าร์ รวมถึงกลุ่มปลาพื้นตู้พวกปลาแพะ ปลาหมู ปลาแมว ปลาซักเกอร์ชนิดต่างๆ เป็นต้น ในปัจจุบัน นิยมเลี้ยงปลากลุ่มนี้เป็นเพื่อนร่วมตู้ของปลาอะโรวาน่ากันอย่างกว้างขวาง
การเพาะพันธุ์ ถึงแม้ว่าจะสามารถเลี้ยงลูโซโซ่จนมีขนาดได้ใหญ่โตมากในที่เลี้ยง จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีรายงานการเพาะพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ ปลาที่พบเห็นในตลาดปลาสวยงามเป็นปลาที่รวบรวมจากธรรมชาติทั้งหมด

ที่มา : http://www.proaquaclub.com/proscoop-Lusosso-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%88-19.html

ปลาฟิงเกอร์


ปลาฟิงเกอร์ หรือ ปลาเฉี่ยวแอฟริกา (อังกฤษ: African moony, Mono sebae) เป็นปลาชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเฉี่ยว (Monodactylidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monodactylus sebae
มีรูปร่างคล้ายกับปลาเฉี่ยวหินหรือปลาผีเสื้อเงิน (M. argenteus) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันคือ ปลาฟิงเกอร์จะไม่มีความแวววาวของเกล็ดเท่า และไม่มีเหลือบสีเหลืองสดที่ครีบหลังและครีบท้องเหมือนปลาเฉี่ยวหิน และมีลายแถบสีดำอีกแถบบริเวณก่อนถึงโคนครีบหาง และมีลักษณะเด่นคือ ครีบท้องในปลาที่โตเต็มที่แล้วจะยาวย้วยห้อยลงมาใต้ท้องดูเหมือนนิ้วมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียก "ฟิงเกอร์"[1]
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 30 เซนติเมตร ซึ่งนับว่าใหญ่กว่าปลาเฉี่ยวหิน แพร่กระจายพันธุ์อยู่บริเวณปากแม่น้ำและป่าโกงกางของชายฝั่งทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก ตั้งแต่หมู่เกาะคะเนรีจนถึงอังโกลา
นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม นิสัยก้าวร้าวและว่ายน้ำได้เร็วมาก จึงไม่เหมาะสมกับการเลี้ยงรวมกับปลาที่ว่ายน้ำช้ากว่า

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ปลาฉลามหางไหม้


ชื่ออื่นๆ หางไหม้, หางเหยี่ยว, หนามหลังหางดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Balantiocheilus melanopterus , Balantiocheilus ambusticauda
ชื่ออังกฤษ SILVER SHARK , BALA SHARK , TRICOLOR SHARK
ถิ่นอาศัย เคยพบในเขตภาคกลาง ในแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ปัจจุบันเข้าใจว่าสูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว นอกจากนี้ยังพบในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซียและเขมร
ขนาด ราว 25 ซ.ม. แต่เคยพบใหญ่ที่สุดยาว 35 ซ.ม.
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวสีเงิน ครีบสีเหลืองนวล ขอบปลายครีบทุกครีบยกเว้นครีบอก มีแถบสีดำขนาดใหญ่คาดลักษณะคล้ายรอยไหม้ ปากขนาดเล็กยืดหดได้ เกล็ดแวววาวระยิบระยับ ปลายหางเป็นแฉกเว้าลึกตรงกลาง
อุปนิสัย รักสงบ ขี้ตื่นตกใจง่าย ปกติอยู่รวมกันเป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก ว่ายน้ำเกือบตลอดเวลา
การสังเกตเพศ ตัวผู้จะเพรียวบางกว่าตัวเมียเล็กน้อย
การแพร่พันธุ์ แพร่พันธุ์โดยการวางไข่จมอยู่ตามพื้น ปล่หนัก 155 กรัมสามารถวางไข่ได้ 6,000-7,000 ฟอง ไข่ฟักเป็นตัวในเวลา 12 ชั่วโมง ปัจจุบันปลาที่นำมาขายเกิดจากการผสมเทียม
การเลี้ยง ควรเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงเพื่อปลาจะได้ไม่ตื่นตกใจง่าย สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดไม่ใหญ่หรือเล็กกว่ากันมากนัก ในปลาเล็กที่ยังไม่แข็งแรงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาที่มีนิสัยดุร้าย ตู้ที่ใช้เลี้ยงควรมีขนาดใหญ่พอที่ปลาจะว่ายหลบหลีกปลาอื่นได้ ตู้ควรมีฝาปิดมิดชิดเพื่อกันปลากระโดด จัดเป็นปลาอดทน โตเร็วและเลี้ยงง่ายมาก
อาหาร กินได้ทั้งอาหารสดและสำเร็จรูป

ที่มา : http://www.pantown.com/board.php?id=46828&area=3&name=board4&topic=29&action=view

ปลาคาร์ดินัล


ชื่อไทย : คาร์ดินัล


ชื่อสามัญ : Cardinal tetra


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paracheirodon axelrodi (Schultz, 1956)


ชื่อวงศ์ : Characidae


ถิ่นกำเนิด : ประเทศบราซิลถึงโคลัมเบีย และเวเนซูเอล่า


ลักษณะทั่วไป : ลำตัวเพรียวยาวแบนข้าง มีแถบสีแดงใต้ท้องพาดยาวจากหลังแผ่นปิดเหงือกจนจรดโคนหาง ธรรมชาติอาศัยอยู่ในน้ำที่ค่อนข้างเป็นกรดคือ pH 4.6-6.2


การเลี้ยงในตู้ปลา : อุปนิสัยชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง รักสงบ เลี้ยงเป็นฝูงเล็กๆ ในตู้พรรณไม้น้ำ เลี้ยงรวมกับปลาอื่นได้

ที่มา : http://www.aquatoyou.com/index.php/2010-02-13-00-01-16/2011-12-11-10-30-38/661-2010-05-07-12-07-26

ปลาเสือดาว


ปลาเสือดาว

ชื่อสกุล Toxotes jaculator
ชื่อไทย เสือ หรือ เสือดาว
ถิ่นที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบในแม่น้ำ ลำคลองที่ติดต่อกับทะเล โดยเฉพาะบริเวณน้ำกร่อยพบมากเป็นพิเศษ ในต่างประเทศพบที่ออสเตรเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รูปร่างลักษณะ เสื่อพ่นน้ำลำตัวแบนข้างลำตัวรูปทรงขนมเปียกปูนป้อมสั้น แนวสันหลังจาก จงอยปากถึงหน้าครีบหลังเกือบเป็นเส้นตรง ปากเฉียงขึ้นข้างบน ดวงตากลมโตเป็นพิเศษกลับกลอกไปมาได้ บริเวณครึ่งบนของลำตัวมีจุดประสีดำประมาณ 5 – 6 จุดขอบครีบหลังและครีบก้น สีดำ ปลาเสือพ่นน้ำเป็น

ปลาผิวน้ำขนาดเล็ก โตเต็มที่ยาวประมาณ 25 ซม.
อุปนิสัย ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาที่นักเลี้ยงปลาให้ความสนใจ โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพราะมันเป็น “ปืนฉีดน้ำที่มีชีวิต” ปลาเสือชนิดนี้สามารถฉีดพ่นน้ำไปได้ไกล เพื่อให้ถูกตัวแมลงที่เกาะอยู่ตาม ใบหญ้าหรือบินอยู่ แมลงถูกน้ำก็จะหล่นลงมาให้มันกินเป็นอาหาร การพ่นน้ำได้เพราะมี ท่อเล็ก ๆ ใต้เพดานปากและเมื่อหุบแผ่นปิดเหงือกอย่างรวดเร็วจะมีแรงกดดันน้ำให้พุ่งออกไปประกอบกับดวงตาที่กลมโปนเป็นพิเศษ จึงเพิ่มความแม่นยำยิ่งขึ้น ในตู้กระจกก็สามารถฝึกให้พ่นน้ำได้ โดยแขวนเหยื่อล่อให้เคลื่อนไหวและปล่อยให้มันหิวจัด ๆ ในแม่น้ำทั่ว ๆ ไป เช่นแม่น้ำเจ้าพระยาจะพบปลาชนิดนี้ว่ายอยู่ข้างเสาศาลาท่าน้ำหรือแพริมน้ำ อาจรวมกลุ่มกัน

ประมาณ 4 – 6 ตัว ปลาธรรมชาติที่จับขึ้นมาเลี้ยงในระยะแรกค่อนข้างตื่น และไม่ยอมกินอาหารจนอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด ปลาเสือพ่นน้ำจะวางไข่ปากแม่น้ำ เมื่อลูก ๆ เติบโตขึ้นจึงว่ายน้ำย้อนขึ้นไปในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดต่อไป
การเลี้ยงดู ปลาเสือพ่นน้ำนับว่ามีความงดงามมากทีเดียวนักเลี้ยงปลาทั้งในประเทศและต่างประเทศสนใจกันมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงได้แก่ ลูกน้ำ ไรแดง ตัวแมลงต่าง ๆ ไส้เดือน และอาหารเม็ดสำเร็จรูป ปลาเสือพ่นน้ำค่อนข้างขี้ตื่นบางทีก็ทำร้ายปลาในตู้เดียวกัน และกินปลาเล็ก ๆ เป็นอาหาร ถ้าจะปล่อยลงเลี้ยงในตู้กระจก อย่าปล่อยลงไปหลาย ๆ ตัว และควรมีพืชน้ำ ก้อนหิน กิ่งไม้น้ำ สำหรับเป็นที่หลบพักผ่อนได้บ้าง ปลาเสือพ่นน้ำเมื่อคุ้นเคยดีแล้ว จะขึ้น สีสวยงามไม่น้อยเลย

ที่มา : http://www.adirek.com/fish/page3.html

ปลาเรนโบว์


ปัจจุบันการเลือกซื้อปลาสวยงามมาเลี้ยงไว้สักชนิดนั้นทำได้ไม่ยากค่ะ เพราะสมัยนี้มีปลาสวยงามให้เลือกซื้ออย่างมากมาย ปลาเรนโบว์ (Rainbowfishes) ก็เป็นอีกหนึ่งชนิดของปลาสวยงามที่มีผู้สนใจหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น เพราะปลาเรนโบว์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย และที่สำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ชนิดของเรนโบว์ที่เลี้ยงกันโดยทั่วไปนั้นสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วในประเทศไทยค่ะ
ปลาเรนโบว์นั้นจะถูกจัดให้อยู่ในอันดับ (Order) Atheriniformes ซึ่งมีอยู่หลายวงศ์ (Family) เช่น Psedomolidae เป็นเรนโบว์ที่มีขนาดเล็ก มีขอบตาสีฟ้าที่รู้จักกันดีในบ้านเรา เช่น ปลาฟ็อกเทล (Pseudomogil furcatus) วงศ์ Telmarteridae หนึ่งในสมาชิกของวงศ์นี้คือ เซเลเบสเรนโบว์ และวงศ์ Melanotaenidae ซึ่งจัดเป็นกลุ่มที่มีสมาชิกมากที่สุด และได้รับความนิยมในการเลี้ยงมากที่สุด ปลาเรนโบว์ในวงศ์นี้จัดเป็นกลุ่มปลาเรนโบว์ที่แท้จริง (True Rainbowfishes) ลักษณะสำคัญของวงศ์นี้คือ มีลำตัวลึก มีลักษณะแบนข้าง มีลวดลายและสีสันบนลำตัว มีแถบสีดำอยู่กึ่งกลางลำตัว มีครีบหลังสองตอน ครีบหลังตอนที่หนึ่งมีขนาดเล็กกว่าครีบหลังตอนที่สอง ซึ่งในวงศ์นี้จะมีสมาชิกทั้งหมด 7 สกุล แต่ที่ได้รับความนิยมอยู่มีเพียง 4 สกุล ได้แก่ สกุล Melanotaenia สกุล Glossolepis สกุล Chilatherina และสกุล Rhadinocentrus
การเลี้ยงปลาเรนโบว์ : สำหรับในประเทศไทยนั้นเรื่องคุณภาพน้ำไม่ใช่ปัญหาในการเลี้ยง เนื่องจากคุณสมบัติของน้ำประปาส่วนใหญ่มีระดับพีเอช (pH) 6.5-8 ซึ่งเหมาะสมกับปลาเรนโบว์เกือบทุกชนิด ส่วนวิธีการเลี้ยงนั้นก็คล้ายกับการเลี้ยงปลาขนาดเล็กทั่วไป จะต่างกันก็ตรงที่การให้อาหารในการเลี้ยงพบว่า การเลี้ยงปลาเรนโบว์ควรจะให้อาหารเพียงวันละ 1 มื้อ อาจจะเป็นช่วงเช้าหรือเย็นก็ได้ จึงจะทำให้ปลาเรนโบว์มีสุขภาพ รูปทรงสวยงาม
อาหารปลาเรนโบว์ : สามารถให้ได้ทั้งอาหารสดและอาหารเม็ด ซึ่งอาหารเม็ดที่ให้ควรเป็นอาหารเม็ดที่มีส่วนผสมของพืชเป็นองค์ประกอบเช่น สาหร่ายสไปรูลิน่า แต่สำหรับผู้ที่ต้องการจะทำการเพาะพันธุ์ก็ควรที่จะให้อาหารสดค่ะ
การเพาะพันธุ์ปลาเรนโบว์ : โดยส่วนมากปลาเรนโบว์จะสืบพันธุ์ได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน ขึ้นไป แต่ถ้าใช้พ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไปก็จะทำให้ได้ลูกปลาที่มีคุณภาพดีกว่า ปลาเรนโบว์สามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี ปกติตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียที่มีอายุเท่า ๆ กัน และตัวผู้ก็จะมีสีสันเข้มกว่าตัวเมีย เรนโบว์เป็นปลาที่มีไข่ประเภทติดพันธุ์ไม้น้ำ ช่วงเวลาที่วางไข่คือ ช่วงเช้ามืด ซึ่งสิ่งที่เราสามารถสังเกตได้คือ ในช่วงเช้าสีปลาตัวผู้จะเข้มขึ้นและจะว่ายโชว์สีสันแข่งกับตัวผู้ตัวอื่น และเกี้ยวพาราสีตัวเมีย โดยตัวเมียที่สมบูรณ์จะวางไข่ได้ครั้งละประมาณ 100-200 ฟอง โดยจะทยอยวางไข่ใช้เวลาประมาณ 1 อาทิตย์และไข่จะใช้เวลาฟักเป็นตัวอีกประมาณ 3-5 วัน สำหรับตู้ปลาที่ใช้นั้นควรใช้ตู้ที่มีขนาด 24 นิ้ว ใช้ปลา 4 คู่ ปล่อยอัตราส่วนพ่อพันธุ์ : แม่พันธุ์ 1:1 พบว่าจะสามารถให้ไข่ได้ดี และไข่ที่ได้ก็จะผสมติดได้ดีอีกด้วย
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าปลาเรนโบว์ที่นิยมเลี้ยงมีหลายชนิด แต่จะขอนำเสนอเรนโบว์ที่เป็นตัวเด่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้วในบ้านเรา เช่น
- เรนโบว์สองสี (Melanotaenia bosemani) เป็นเรนโบว์ที่เลี้ยงมานานแล้ว และมีความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีสีสันที่สะดุดตา ลำตัวมีสองสี โดยที่ครึ่งลำตัวหน้าเป็นสีน้ำเงิน ส่วนครึ่งตัวหลังจะเป็นสีเหลือง

- เรนโบว์นีออน (Melanotaenia praecox) เป็นเรนโบว์ที่มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาด 6 เซนติเมตร ลักษณะเด่นของเรนโบว์ชนิดนี้คือ บริเวณลำตัวจะเป็นสีฟ้าสะท้อนแสง ครีบทั้งหมดของตัวผู้จะเป็นสีแดง ส่วนของตัวเมียจะเป็นสีเหลือง

- เรนโบว์แดง (Glossolepis incisus) เป็นเรนโบว์ที่มีขนาดใหญ่มาก หากเราเลี้ยงไว้ในตู้ขนาดใหญ่ประมาณ 2 ปี จะโตเต็มที่ได้ถึง 15 เซนติเมตร เลยทีเดียวค่ะ ลักษณะเด่นของเรนโบว์แดงคือ ตัวผู้จะมีสีแดง (บางครั้งอาจเป็นสีเลือดหมูจนถึงสีน้ำตาล) ส่วนตัวเมียจะไม่มีสี แต่ที่น่าสนใจของเรนโบว์ชนิดนี้เห็นจะเป็นการเรียงตัวของเกล็ดที่ไม่เป็นระเบียบ ซึ่งแตกต่างจากปลาสวยงามทั่วไปอย่างสิ้นเชิง

- Chilatherina fasciata ที่พบในบ้านเราส่วนใหญ่จะมีลำตัวเป็นสีเหลือง ส่วนขอบหางจะเป็นสีเทาอ่อน ๆ

- Chilatherina bleheri เป็นเรนโบว์ที่สวยงามที่สุดในสกุลนี้ลักษณะที่โดดเด่นเห็นจะเป็นลำตัวที่มีสีทองอมเขียว มีหางสีแดงเข้ม เมื่ออยู่ในช่วงผสมพันธุ์จะเห็นแถบสีสว่างบนแนวสันหัว ตั้งแต่ริมฝีปากบนไปจนถึงก้านครีบแข็งอันแรกของครีบหลังตอนที่หนึ่ง

ากตัวอย่างปลาเรนโบว์ทั้งหมดที่นำมาฝากกัน เชื่อเหลือเกินว่าคนรักปลาทุก ๆ ท่านก็คงจะหลงใหลไปกับความสวยงามของปลาเรนโบว์ ซึ่งคงจะไม่ผิดนักหากจะยกให้เป็น นางฟ้าตัวน้อย ๆ ตัวใหม่ในตู้กระจกที่บ้าน ส่วนการเลือกซื้อปลาเรนโบว์มาเลี้ยงนั้นก็ไม่ยุ่งยากมากนัก เพียงแต่เราต้องตอบให้ได้ก่อนว่า เราต้องการเลี้ยงเรนโบว์ชนิดใด จากนั้นก็ให้สังเกตดูลักษณะภายนอกของปลาที่เราสามารถเห็นได้ชัดเช่น ปลาต้องไม่ผอมจนเกินไป สีสันของปลาต้องไม่เข้มจนผิดปกติเพราะอาจมีการให้ปลากินสารเร่งสี ครีบปลาต้องมีครบไม่แหว่ง ปลาสมบูรณ์ไม่แสดงอาการเป็นโรคเช่น หางกร่อน หรือมีจุดขาวขึ้นตามลำตัว เป็นต้น และเมื่อเราได้ปลาที่มีลักษณะตรงตามความต้องการแล้วสิ่งสำคัญที่คนรักปลาควรตะหนักเสมอว่า การนำมามาเลี้ยงไว้ในตู้ไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตามแต่ เราควรเอาใจใส่ในทุก ๆ เรื่องโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพน้ำภายในตู้ เพื่อที่จะให้ปลาสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติและอยู่คู่บ้านเราไปนาน ๆ

ที่มา : http://www.nicaonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=818:-rainbowfishes-&catid=35:2012-02-20-02-56-57&Itemid=119

ปลากาแดง


ชื่ออังกฤษ Redfin Shark

ชื่อไทย ปลากาแดง ปลานวลจันทร์ ฉลามครีบแดง

ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย ถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบในแม่น้ำภาคกลาง เช่น ที่ กาญจนบุรี นครสวรรค์ ภาคเหนือที่สุโขทัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบที่แม่น้ำโขง

รูปร่างลักษณะ คล้ายกับปลาทรงเครื่องมาก แต่ลำตัวค่อนข้างยาวเรียวกว่าปลาทรงเครื่องลำตัวมักเป็นสีดำ แต่กาแดงลำตัวสีน้ำตาลอมเทา ไม่ดำสนิทเหมือนปลาทรงเครื่อง ครีบทุกครีบของปลากาแดงเป็นสีแดงหรือสีส้ม ด้านข้างหัวทั้งสองข้างมีแถบสีดำพาดจากปลายปากมา ถึงตา ตรงโคนหางมีจุดสีดำหนึ่งจุด ปากขนาดเล็ก ริมฝีปากบนงองุ้มกว่าริมฝีปากล่าง มีหนวดสั้นๆ2คู่ ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 10-15 ซ.ม.

อุปนิสัย ปลากาแดงค่อนข้างเลี้ยงง่ายกว่าปลาทรงเครื่อง ลูกปลากาแดงตัวเล็กๆก็เลี้ยงง่ายกว่าลูกปลาทรง เครื่อง และมีปริมาณรอดตายมากกว่า อุปนิสัยโดยทั่วๆไปเช่นเดียวกับปลาทรงเครื่อง

การเลี้ยงดู ความเป็นอยู่และอาหารการกินของปลากาแดงทำนองเดียวกับปลาทรงเครื่องและสามารถเลี้ยงรวมกับปลาทรงเครื่องได้ดี

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no20/plakadang.html

ปลานีออน


เทคนิคการเลี้ยงปลานีออน
ปลานีออนมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paracheirodon innesi ถูกค้นพบในอเมริกาใต้ บริเวณแม่น้ำในประเทศเปรู บราซิล และโคลัมเบีย ซึ่งปลานีออนเป็นปลาขนาดเล็กที่มีสีสันสวยงามชนิดหนึ่ง เรามักจะเห็นปลานีออนถูกเลี้ยงรวมกับต้นไม้น้ำเสมอ…เรามาดูเทคนิคการเลี้ยงปลานีออนกันดีกว่า!!!
การเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยง
1. ตู้ปลาขนาด 14 นิ้วขึ้นไป การเลี้ยงปลานีออนให้สวยนั้นจะต้องเลี้ยงรวมกับต้นไม้น้ำและมีโขดหินให้ปลาซ่อนตัวและวางไข่
2. แสงไฟ ถ้าหากเราจะเลี้ยงเพื่อความสวยงามแล้วเราจะเล่นแสงเพื่อให้แสงตัดสีกับตัวปลา แต่ถ้าหากว่าเราจะเพาะนั้น แสงไฟที่แนะนำจะเป็นหลอดไฟกลมเล็ก 15 วัตต์ เนื่องจากไข่ของปลานั้นจะมีผลต่อแสงไฟค่อนข้างมาก เพราะจะทำให้ไข่ปลาเสียและฝ่อในที่สุด
3. ระบบกรอง จะใช้ระบบกรองข้าง ซึ่งจะช่วยให้การเลี้ยงง่ายขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลานีออนหรือปลาทุกชนิดก็คือระบบน้ำที่เป็นสภาพแวดล้อม ซึ้งจะเลี้ยงปลานีออนในช่วง pH 5.0-6.0 และอุณหภูมิที่ต้องการคือ 24 องศาเซลเซียส และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 1 สัปดาห์
4. Heater มีความจำเป็นต่อปลามากในฤดูหนาว ซึ่งอุณหภูมิที่ปลานีออนต้องการคือ 23-30 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ Heater นี้ยังช่วยให้ปลาปลอดจากโรคจุดขาว เนื่องจากในฤดูหนาวปลาจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว จะทำให้ปลาอ่อนแอ และเชื้อโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงนี้ ดังนั้นการใช้ Heater ก็จะช่วยให้ดีขึ้น
5. ยาปรับสภาพน้ำ จะปรับสภาพน้ำให้เหมือนน้ำที่มาจากแหล่งที่เลี้ยง อาจใช้น้ำหมักจากใบหูกวางก็ได้
6. อาหาร ใช้อาหารสดพวกอาทีเมีย หรือ ไรแดง

ที่มา : http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?board=15;action=display;threadid=1694

ปลาสายรุ้ง


สายรุ้ง ( ชื่อสามัญ )

BLUE-BANDED WHIPTAIL ( ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ )

Pentapodus setosus ( ชื่อวิทยาศาสตร์ )

ลักษณะทั่วไป: ลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวค่อนข้างแหลมปาก กว้างพอสมควร มีเกล็ดประปรายอยู่ตรงบริเวณปลายสุดของหัว มีฟันเล็กแหลมและมีฟันเขี้ยวซึ่งแสดงถึงนิสัยในการกินอาหาร พื้นลำตัวมีสีเทาอมเหลือง ส่วนด้านท้องมีแถบสีขาวเงิน พาดจากปลายจะงอยปากผ่านไปตามกลางลำตัวจนถึงโคนหาง และมีแถบสีขาวพาดไปบนครีบ จุดเด่นที่พบได้อย่างชัดเจนของปลาชนิดนี้คือ ครีบหางเว้าลึกปลายแพนหางด้านบนจะเป็นเส้นสีดำ มีจุดดำที่โคนครีบหาง
ถิ่นอาศัย: อยู่ตามหน้าดิน บริเวณที่พบได้แก่จังหวัดสมุทรปรา การ สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร
อาหาร: กินพืชไม้น้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็กและซากพืชซากสัตว์
ขนาด: ความยาวประมาณ 14-22 ซ.ม.
ประโยชน์: ใช้เป็นอาหาร

ที่มา : http://www.adirek.com/fish/page22.html

ปลาเพนกวิน


ชื่อสามัญ Boehlke’s penguin

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thayeria boehlkei Weitzman, 1957

ลักษณะทั่วไปของปลาเพนกวิน

ปลาเพนกวินเป็นปลาสวยงามขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดราว 6-8 เซนติเมตร มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิลในทวีปอเมริกาใต้ ปลาชนิดนี้มีแถบสีดำหรือสีน้ำตาลไหม้ขึ้นเป็นทางเริ่มจากส่วนหลังของเหงือก และพาดผ่านลำตัวเป็นแนวยาวจรดถึงปลายหางด้านล่าง ซึ่งแถบสีดำแลเด่นสะดุดตามาก เนื่องจากส่วนหลังมีสีคล้ายสีทองเหลือง เกล็ดเป็นมันแวววาวระยิบระยับ เกล็ดมีขนาดเล็ก ปลาชนิดนี้ชอบว่ายอยู่รวมกันเป็นฝูง และทรงตัวอยู่ในระดับกลางน้ำจนถึงผิวน้ำ เป็นปลาที่มีความแคล่วคล่องว่องไวมาก นอกจากนี้ยังเป็นปลาที่มีความทรหดอดทนอีกด้วย ลักษณะเด่นเฉพาะของตัวปลาชนิดนี้มีอีกอย่างคือ มันชอบว่ายเชิดหัวขึ้นสูง ทำให้แลดูคล้ายคนที่มีความหยิ่งยโส โดยเฉพาะแถบสีดำที่บริเวณครีบหางซึ่งมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ยิ่งทำให้แลดูปลาเชิดหัวมากยิ่งขึ้น จัดได้ว่าปลาชนิดนี้เป็นปลาผู้ดีอีกชนิดหนึ่ง สำหรับสภาพน้ำที่เหมาะสมที่ใช้เลี้ยงปลาชนิดนี้ควรเป็นน้ำที่ใสสะอาดมีความเป็นกรดเล็กน้อย ภายในที่เลี้ยงควรจัดเหมือนอยู่ในธรรมชาติ การเลี้ยงไม่ควรเลี้ยงรวมกันต่ำกว่า 6 ตัว เนื่องจากปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง และชอบกระโดด ดังนั้นจึงควรมีฝาตู้ปิดให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ปลากระโดดออกมา สำหรับแสงสว่างไม่ควรให้สว่างมากจนเกินไป เพราะปลาชนิดนี้ชอบอยู่ในที่ค่อนข้างมืด

การเพาะพันธุ์ปลาเพนกวิน

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

ปลาเพนกวินเป็นปลาที่สามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ แต่การสังเกตเพศปลาค่อนข้างสังเกตได้ยาก เนื่องจากปลาเพศผู้ และเพศเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก นอกจากเมื่อถึงฤดูวางไข่จึงสามารถสังเกตเพศได้ชัด คือ ปลาตัวเมียมีรูปร่างอ้วน และป้อมกว่า ลำตัวมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าปลาเพศผู้

การเพาะพันธุ์

ปลาเพนกวินจัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างเพาะพันธุ์ได้ง่าย และให้ลูกดก ปลาชนิดนี้แพร่พันธุ์โดยการวางไข่ วิธีการเพาะพันธุ์ที่ค่อนข้างได้ผลคือ ปล่อยปลาตัวเมีย 4 - 5 ตัว อยู่รวมกับปลาตัวผู้ 1 ตัว สาเหตุที่ต้องปล่อยปลาตัวผู้เพียงตัวเดียวเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาต่อสู้ และทำร้ายกัน ส่วนสาเหตุที่ปล่อยปลาตัวเมีย 4-5 ตัว เพื่อให้ตัวผู้เลือกจับคู่กับปลาตัวเมียที่พร้อมวางไข่ สำหรับในที่เพาะพันธุ์ควรมีความจุของน้ำไม่ต่ำกว่า 80 ลิตร และควรมีต้นสาหร่ายปลูกไว้ น้ำควรมีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ ( pH 6.2-6.4 ) แสงสว่างไม่ควรให้มากเกินไป เพราะทำให้ปลาตกใจได้ง่าย เมื่อตัวเมียไข่แก่ก็วางไข่ออกมา ตัวผู้ว่ายน้ำไปผสมน้ำเชื้อ วิธีการสังเกตว่าปลาใกล้วางไข่อาจสังเกตได้โดยปลาตัวผู้ว่ายไล่รัดตัวเมียอยู่ตลอดเวลาโดยปกติปลาเพนกวิน วางไข่ตอนใกล้รุ่ง ไข่ของปลาชนิดนี้ออกสีน้ำตาลอมเหลือง ไข่ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวไม่เกิน 2 - 3 วัน และเมื่อลูกปลาอายุได้ 4 - 5 วัน ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำได้เอง ลูกปลาเมื่อมีอายุได้ 1 เดือน เริ่มมีแถบสีดำปรากฏให้เห็นแล้ว ลูกปลาเพนกวินจัดว่าเลี้ยงง่าย และโตเร็วมากหากเลี้ยงอย่างถูกวิธี เท่าที่ผ่านมาพ่อแม่ปลาคู่หนึ่งให้ลูกปลาได้ถึง 2,000 ตัว ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน ราคาในตลาดอยู่ในช่วงประมาณคู่ละ 20 - 30 บาท

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/sf-saraburi/index.php?option=com_content&view=article&id=100&Itemid=184

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาเสือพ่นน้ำ


ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นปลาเก่าแก่คู่สายน้ำเมืองไทยมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ในวรรณคดีหลายเรื่องตลอดจนจดหมายเหตุต่างๆ ในอดีตก็มีกล่าวถึงปลาชนิดนี้ไว้ในแง่ของการชื่นชมความสวยงามกับอุปนิสัยที่น่ารักของมัน ปลาเสือพ่นน้ำมีรูปร่างแบนข้าง ส่วนหัวเล็ก มีจะงอยปากยื่นแหลม ครีบทุกครีบสั้น โดยเฉพาะครีบหาง ส่วนครีบกระโดงแบ่งออกเป็นสองส่วนเชื่อมติดกัน คือส่วนที่เป็นก้านครีบแข็ง ซึ่งจะตั้งเป็นหนามแหลมกับส่วนที่เป็นก้านครีบอ่อน ปลาเสือพ่นน้ำเป็นปลาหากินผิวน้ำ ลักษณะลำตัวจากปลายปากกับแนวสันหลังจึงเกือบเป็นเส้นตรง ปากกว้างเฉียงลงและดวงตากลมโต สายตานั้นดีมาก สามารถมองเห็นแมลงที่เกาะซ่อนตัวอยู่ตามริมตลิ่งหรือกิ่งไม้ได้อย่างง่ายดาย

ปลาเสือพ่นน้ำมีหลายชนิดพันธุ์ บางชนิดอาศัยในแหล่งน้ำจืดสนิท บางชนิดอยู่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย และบางชนิดก็อาศัยอยู่ในทะเลเป็นปลาน้ำเค็มไปโดยสมบูรณ์แบบ ชนิดหลังนี้จึงมีความใหญ่โตมากกว่าชนิดอื่น เคยมีผู้พบเห็นปลาเสือพ่นน้ำที่มีความยาวเกือบ 40 เซนติเมตร ตามชายฝั่งทะเลหลายครั้ง แต่ขนาดโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ไม่เกิน 20-30 เซนติเมตร ส่วนปลาเสือพ่นน้ำน้ำจืดจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก โตเต็มที่ไม่เกิน 15 เซนติเมตร

ชื่อสกุลของปลาเสือพ่นน้ำ คือ Toxotes เป็นภาษากรีก แปลว่า "นักยิงธนู" นักเลี้ยงปลาทั่วโลกก็รู้จักมันในชื่อทางการค้าว่า "Archer fish" หรือปลานักยิงธนูนั่นเอง

แหล่งกระจายพันธุ์ของปลาในสกุล Toxotes หรือปลาเสือพ่นน้ำจะอยู่บริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลงไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย มีการสำรวจค้นพบได้ถึง 7 ชนิดพันธุ์ เฉพาะในเมืองไทยก็มีถึง 3 ชนิดพันธุ์ (species) ดังนี้ครับ

1. ปลาเสือพ่นน้ำธรรมดา

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes chatareus
ชื่อทางการค้า Seven-spot Archerfish, Largescale Archerfish

เป็นตัวที่พบเห็นได้ทั่วไป ส่วนมากอาศัยอยู่ตามบริเวณปากแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ที่มีทางเชื่อมต่อกับปากแม่น้ำติดทะเล พบได้มากทั้งทางภาคกลางและภาคใต้

2. ปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์ หรือปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes microlepis
ชื่อทางการค้า Smallscale Archerfish

บางคนก็เรียกว่าปลาเสือพ่นน้ำน้ำจืด เพราะพบได้มากในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดสนิท มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเพื่อน แต่มีสีสันเหลืองเข้มสวยงาม สามารถนำมาเลี้ยงในตู้ปลาได้ดีกว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่น

3. ปลาเสือพ่นน้ำน้ำกร่อย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Toxotes jaculatrix
ชื่อทางการค้า Banded Archerfish

สามารถพบได้ทั้งปากแม่น้ำและบริเวณชายฝั่งทั่วไป มีขนาดใหญ่กว่าปลาเสือพ่นน้ำชนิดอื่นๆ การนำมาเลี้ยงต้องปรับสภาพน้ำเสียก่อน ซึ่งบางตัวก็ใช้เวลานานมาก

การเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำในตู้

ต้องใช้ตู้ที่มีขนาดอย่างน้อย 36 นิ้ว เพราะถึงแม้ปลาเสือพ่นน้ำจะเป็นปลาไม่ดุร้าย แต่ก็เครียดง่ายหากเลี้ยงในที่แคบเกินก็จะแสดงความก้าวร้าวออกมา ไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาขนาดเล็ก เพราะมันอาจจับกินได้เวลาหิวจัดๆ และที่สำคัญ จำเป็นต้องรู้ให้แน่เสียก่อนว่าปลาเสือพ่นน้ำที่เอามาเลี้ยงนั้นเป็นชนิดไหน และได้ปรับสภาพให้อยู่น้ำจืดสนิทได้ดีแล้วหรือยัง ปลาในตลาดค้าส่งมักไม่ปรับสภาพน้ำมาให้ ผู้เลี้ยงที่ไม่มีประสบการณ์จึงมักพบว่าเลี้ยงปลาชนิดนี้ได้ไม่กี่วันก็ตายเสมอๆ แต่ถ้าเป็นปลาเสือพ่นน้ำเกล็ดถี่หรือปลาเสือพ่นน้ำนครสวรรค์จะเลี้ยงได้ง่ายกว่า ราคาก็ไม่แตกต่างกันมากนัก อาจแพงกว่านิดๆ หน่อยๆ

ในตู้สามารถตกแต่งด้วยขอนไม้และพืชน้ำได้ เนื่องจากปลาเสือพ่นน้ำไม่กัดทำลายต้นไม้ แต่ไม่ควรตกแต่งให้รกมากเกินไป เพราะปลาจะเครียดหากมีที่ว่ายไม่เพียงพอ ปลาเสือพ่นน้ำจะว่ายน้ำตลอดเวลา และมักว่ายหากินบริเวณผิวน้ำ ปลาที่เลี้ยงจนเชื่องอาจกระโดดขึ้นมาจับกินแมลงที่บินเหนือผิวน้ำ ฉะนั้น ควรหาฝามาปิดให้มิดชิด

อาหารที่เหมาะสมสำหรับปลาเสือพ่นน้ำคือ อาหารสด เช่น ไส้เดือนน้ำ หนอนแดง ไรทะเล ลูกกุ้ง และสามารถให้อาหารสำเร็จรูปที่มีโปรตีนสูงสลับได้ ปลาที่นำมาเลี้ยงในระยะแรกอาจไม่ยอมกินอาหารเม็ด จะต้องค่อยๆ ฝึกโดยวิธีปล่อยให้อดสักสองสามวัน จากนั้นปลาก็จะยอมกินไปเองในที่สุด

ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อยสำหรับคนเพิ่งเคยเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำ นั่นคือ อาการตัวเปื่อย เนื่องจากผิดน้ำ สาเหตุเกิดจากปลายังปรับสภาพน้ำมาไม่ดีพอ เมื่อนำมาเลี้ยงในน้ำที่จืดสนิทจึงเกิดอาการดังกล่าว วิธีรักษาคือให้แยกปลาออกมาเลี้ยงในน้ำสะอาด เติมเกลือแกงลงไปเล็กน้อยและใส่ยาปฏิชีวนะ (ยาเหลืองที่มีขายตามร้านขายปลาก็ได้ครับ) ให้อากาศเยอะๆ และอย่าเพิ่งให้อาหาร ใช้เวลาหลายวันหน่อยกว่าปลาจะเริ่มปรับตัวได้ ดีที่สุดควรซื้อจากร้านที่เขาปรับน้ำมาให้แล้ว หรือเลี้ยงปลาเสือพ่นน้ำสายพันธุ์น้ำจืด ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่ค่อยมีครับ

ที่มา : http://pet.kapook.com/view2547.html

ปลานกแก้ว


ปลานกแก้ว (Parrotfishes) อยู่ในครอบครัว Scaridae โตเต็มที่มีขาดประมาณ 30-70 ซ.ม. อาศัยอยู่ตามแนวปะการังพบได้ในทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่พบในประเทศมีมากกว่า20สายพันธุ์ กินฟองน้ำปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ

ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้ายๆจะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ เวลานอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่างๆรวมทั้งพวกหนอนพยาธิปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน

ข้อมูลเฉพาะตัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cichlasoma
วงศ์ : Cichlidae
ถิ่นกำเนิด : เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์
อุณหภูมิ : 22 - 28
pH : 6.5 - 7.0
การขยายพันธุ์ : ผสมข้ามสายพันธุ์ สืบพันธุ์โดยการวางไข่ ติดกับก้อนหิน
อาหาร : อาหารสำเร็จรูป อาหารสด พวก หนอนแดง ไรทะล รวมทั้ง ไส้เดือนน้ำ
ขนาด : โดยทั่วไปมีความยาวเฉลี่ย


ลักษณะนิสัย

ปลานกแก้วมีนิสัยชอบขุดคุ้ย เป็นปลาค่อนข้างขี้กลัว การเลี้ยงปลานกแก้วควรเลี้ยงรวมกันหลายๆ ตัว เพื่อที่ว่าปลาจะไม่ตื่นมากนัก แต่ถ้ารวมกับปลาชนิดอื่นๆ ปลานกแก้วจะสงบเสงี่ยม แต่ถ้านำมาเลี้ยงรวมกันกับพวกเดียวกันจะมีการไล่การบ้าง เป็นเรื่องธรรมดาของปลาประเภทนี้


การจัดตู้สำหรับปลานกแก้ว

การจัดตู้ควรจะจัดให้โล่ง ไม่ให้รกจนเกินไปควรไส่หินให้ด้วย เพราะนกแก้วเป้นปลาชอบขุดคุ้ยหิน แล้วควรตกแต่งด้วยหินขนาดใหญ่ ขอนไม้หรือภาชนะดินเผา ประเภท ให และ หม้อ ขนาดควรจะประมาณ 30 นิ้ว เพื่อตอนโตจะไม่แน่น จนเกินไปปลานกแก้วขนาดโตเต็มที่แล้ว

วิธีการดูเพศนกแก้ว
วิธีการนี้สามารถดูได้ทั้งตัวผู้ตัวเมียคือ วิธีการดูท่อเพศ ตัวผู้จะมีท่อเพศยาวเรียว ปลายแหลม ซึ่งในปลาตัวผู้ที่เคยฉีดเชื้อมาแล้ว ปลายที่แหลมนั้นจะอาจจะแตกและมีสีดำเช่นกัน ส่วนตัวเมียจะมีท่อเพศใหญ่กว่า จะมีฐานคล้ายสามเหลี่ยมมุมป้าน มีท่อยื่นออกมา ในส่วนปลาตัวใหญ่หรือมีขนาดแล้วก็ดูไม่ยากเย็นนัก แต่ในปลาขนาดเล็กบางทีก็จนปัญญาเหมือนกัน
อีกวิธีคือ ดูครีบตะเกียบใต้ท้อง ตัวเมียจะมีลักษณะสั้นไม่แหลมเป็นเส้น ตัวผู้จะมีครีบตะเกียบที่แหลมเป็นเส้นกว่าตัวเมีย วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะปลานกแก้วเท่านั้นและไม่ทุกตัวที่เป็นเช่นนั้น แต่โดยมากจะเป็นเช่นนั้น ในส่วนคิงคองและซินแดงไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้
บางทีการเลี้ยงนกแก้วหรือคิงคองมานาน เลี้ยงปริมาณเยอะ ๆ มีเวลานั่งชมพฤติกรรมการเป็นอยู่ของมันก็พอจะบอกได้ว่าปลาตัวไหนที่เราเลี้ยงเป็นตัวผู้หรือตัวเมีย เมื่อถึงจุด ๆหนึ่งเมื่อเราไปเห็นปลาที่อื่น บางทีการมองดูปลาว่ายสักพัก ก็พอจะคาดเดาได้ว่าตัวไหนคุณชายตัวไหนคุณหญิง ปลาบางตัวมีหน้า มีลูกตา มีทรวดทรงที่เป็นลักษณะเฉพาะว่าข้านี่แหละตัวผู้ หนูนี่แหละตัวเมีย บางทีก็ไม่สามารถอธิบายออกมาได้ เพราะใช้ความรู้สึกที่สั่งสมมาตัดสินใจ และแน่นอนไม่มีทางถูกร้อย % นอกจากปลาตัวนั้นไข่แล้วเท่านั้น

ที่มา : http://th.discuscommunity.com/index.php?topic=243.0

ปลาลักเล่


ปลาทองพันธุ์นี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด ใหญ่ ๆ ด้วยกัน คือ

1.ปลาทองตาโปนสีแดง หรือเป็นปลาทองตาโปนที่มีสีแดงตลอดทั้งลำตัว ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า Aka Demekin

2.ปลาทองพันธุ์เล่ห์ หรือที่คนไทยมักนิยมเรียกกันจนติดปากกันว่า “ปลาลักเล่ห์” เป็นปลาทองตาโปนที่มีสีดำตลอดทั้งลำตัว นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ ออกไป เช่น
- พันธุ์หางตุ๊กตา ปลายหางของปลาจะเรียบเสมอกันจนดูคล้ายกระโปรง
- พันธุ์หางยาวธรรมดา ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาแพงกว่าชนิดหางตุ๊กตา
- พันธุ์เล่ห์นาก หรือ ลักเล่ห์นาก
- พันธุ์แพนด้า ที่มีสี Marking คล้ายหมีแพนด้า โดยเฉพาะตรงส่วนหน้า (พันธุ์ใหม่สุด)

3.ปลาทองตาโปน 3 สี คนไทยมักนิยมเรียกกันว่า “ลักเล่ห์ 5 สี” นั่นเอง

ลักษณะเด่นของปลาทองพันธุ์นี้ก็คือ ตาของปลาจะยื่นโปนออกไปข้างหน้าจนดูคล้ายกับกล้องส่องทางไกล จึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Telescope Eyes” ลักษณะของตาปลาทองชนิดนี้ที่ดีควรจะต้องโต และตาสองข้างต้องมีขนาดเท่า ๆ กัน แก้วตาควรจะกลมไม่แบน

ปลาชนิดนี้เมื่ออายุยังน้อยลูกตาจะไม่โปนออกมา โดยทั่วไปเมื่อลูกปลามีอายุได้ 3-6 เดือน ลูกตาจึงจะค่อย ๆ ยื่นโปนออกมาชัด หากตาโปนขึ้นเพียงข้างเดียวจะทำให้ปลาด้วยราคาถูกลงทันที โดยมากปลาทองตาโปนหากผู้เลี้ยง ๆ ไม่ดี ปลามักจะตาบอด เนื่องจากตาของปลามักชนถูกขอบตู้หรือขอบอ่างอยู่เสมอ ดังนั้นภาชนะที่ใช้เลี้ยงจึงควรเป็นบ่อหรืออ่างที่มีลักษณะกลมและปากบ่อหรืออ่างควรป้านออก เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาว่ายไปชนถูกขอบบ่อ

ขนาดของปลาทองพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็ก โดยเฉลี่ยยาวไม่เกิน 6 นิ้ว จัดว่าเป็นปลาที่ค่อนข้างเปราะบางเลี้ยงยาก ดังนั้นจึงเป็นปลาที่ไม่เหมาะสำหรับนำเลี้ยงปลามือใหม่ที่จะนำไปเลี้ยง และเนื่องจากปลาทองชนิดนี้เป็นปลาที่มีสายตาใช้การได้ไม่ดีเท่าใดนัก จึงทำให้ปลามีประสาทในการดมกลิ่นดีกว่าพันธุ์อื่น ๆ สำหรับปัญหาที่มักเกิดกับปลาทองเล่ห์ คือ ปลาทองชนิดนี้เมื่อมีอายุขัยมากขึ้นสีมักจะกลาย ทำให้ขาดความสวยงาม

จากการศึกษาค้นคว้าพอทราบว่าเหตุที่ปลาทองพันธุ์นี้มีชื่อว่า “พันธุ์เล่ห์” เพราะเจ้าของร้านเล่ห์ประดิษฐ์ซึ่งเป็นผู้ผลิตแรกเก็ตไม้แบดมินตันเป็นผู้นำปลาทองชนิดนี้เข้ามาเลี้ยงและเผยแพร่ในเมืองไทย จึงเรียกปลาทองตาโปนที่สีดำนี้ว่า “พันธุ์เล่ห์” ตั้งแต่นั่นเป็นต้นมา ซึ่งภายหลังแผลงกันจนเป็น “ปลาลักเล่ห์”

สำหรับปลาทองตาโปน 3 สี นั้น เป็นปลาทองที่มีเกล็ดโปร่งใส โดยมีลวดลายและสีสันอยู่ภายในซึ่งเราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งหากดูอย่างผิวเผินแล้วอาจเข้าใจว่า ลวดลายและสีสันบนตัวปลาเป็นสีบนเกล็ดปลา แต่ที่แท้จริงแล้วสีที่เห็นเป็นสีที่ซ่อนอยู่ใต้เกล็ด สำหรับสีของปลาทองชนิดนี้ได้แก่ แดง ขาว ดำ ฟ้า น้ำตาลออกเหลือง แดงออกม่วง ปลาที่มีครบทั้ง 5 สี อยู่ในตัวเดียวจะเป็นปลาที่มีราคา ซึ่งปลาที่มีลักษณะเช่นนี้เป็นปลาที่หาได้ยาก

นอกจากนี้ปลาทองพันธุ์ตาโปน หรือ พันธุ์เล่ห์ ยังสามารถแยกประเภทออกไปตามลักษณะของหางออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

1.ปลาทองชนิดหางแฉก ซึ่งในบ้านเรานิยมเรียกกันว่า “หางผีเสื้อ” จัดว่าเป็นปลาที่ได้รับความนิยมมากกว่าปลาทองประเภทที่จะกล่าวต่อไป

2.ปลาทองหางซิว มีลักษณะคล้ายหางปลาทองสามัญ แต่จะเรียวยาวมากกว่าคล้ายหางปลาซิว

ที่ทา : http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6-6/no06-08/fish/sec04p03_16.html

ปลาน้ำผึ้ง


ชื่อสามัญ Siamese algae eater

ชื่อวิทยาศาสตร์ Gyrinocheilus aymonieri (Tirant, 1883)

ลักษณะทั่วไปของปลาน้ำผึ้ง

ปลาน้ำผึ้ง หรืออีดูด เป็นปลาประจำท้องถิ่นของไทย ในธรรมชาติเป็นปลาขนาดกลาง โตเต็มที่อาจยาวได้ถึง 20 เซนติเมตร มีรูปร่างยาวทรงกระบอก ปลาน้ำผึ้งเป็นปลาขนาดเล็กที่มีลักษณะลำตัวเรียวคล้ายทรงกระบอก ค่อนข้างเรียวไปทางโคนหาง ความยาวลำตัววัดจากจะงอยปากถึงโคนหางเป็น 4.5-5.4 เท่าของความกว้างลำตัว ส่วนหัวสั้น ด้านล่างของส่วนหัว และส่วนท้องแบนราบ ตาค่อนไปทางด้านบนของหัว ปากอยู่ด้านล่าง ลำตัวมีสีน้ำตาล บริเวณหลังมีแต้มสีดำ หรือน้ำเงิน ด้านข้างลำตัวของปลาวัยอ่อนมีแถบสีน้ำตาลเข้มพาดไปตามความยาวของลำตัว ครีบมีสีเหลือง หรือน้ำตาลพร้อมด้วยจุดสีดำเล็ก ๆ ครีบทุกครีบไม่มีก้านครีบแข็ง ครีบหลังมีก้านครีบ 13-14 อัน ครีบก้นมีก้านครีบ 8-9 อัน มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว 39-41 เกล็ด ปลาน้ำผึ้งพบมากทั้งแหล่งน้ำนิ่ง และน้ำไหล ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง ริมฝีปากเปลี่ยนแปลงเป็นอวัยวะสำหรับการยึดเกาะ เหมือนปลาซัคเกอร์ ช่องเปิดเหงือกแต่ละข้างมีสองช่องสำหรับให้น้ำไหลผ่านใช้ในการหายใจ ผิดจากปากน้ำจืดชนิดอื่น ๆ ที่ดูดน้ำเข้าทางปาก และปล่อยออกทางเหงือก กินอาหารประเภท ตะไคร่น้ำ สาหร่ายบางชนิด เศษพืช และสัตว์เน่าเปื่อยเป็นอาหาร มีขนาดความยาว 20-26 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

ปลาน้ำผึ้งมีการแพร่กระจายตามแหล่งน้ำไหลทั่วไปทั้งในประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชามาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในประเทศลาว พบที่หลวงพระบาง และ อ่างเก็บน้ำเขื่อนน้ำงึม ในประเทศกัมพูชาพบบริเวณแม่น้ำโขงของกัมพูชา ในประเทศไทยพบแพร่กระจายอย่างกว้างขว้างทั่วไปในที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา บึงบอระเพ็ด พบมากที่สุโขทัย โดยเฉพาะในแม่น้ำยม และลำคลองสาขา แถบจังหวัดอีสาน พบมากในแม่น้ำโขง และทางภาคใต้ พบที่สงขลา

การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง

การเพาะพันธุ์ปลาน้ำผึ้ง โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ domperidone ฉีดปลาเพศเมีย ครั้งที่ 1 ในอัตราความเข้มข้น 10-15 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปลาเพศผู้ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ 10 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับ ยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แม่ปลาสามารถวางไข่ภายในระยะเวลาประมา 4 ชั่วโมง หลังฉีดฮอร์โมน ลักษณะไข่ปลาเป็นแบบไข่ลอย ไข่ฟักเป็นตัวอยู่ในระหว่าง 13 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 27-28 องศาเซลเซียส มีอัตราการฟักเท่ากับ 30-50 เปอร์เซ็นต์ อนุบาลลูกปลาวัยอ่อนด้วยโรติเฟอร์ และไข่แดงบดละเอียด ลูกปลามีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยเมื่ออายุ 17 วัน

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/sf-saraburi/index.php?option=com_content&view=article&id=83&Itemid=166

ปลาผีเสื้อ


ลักษณะทั่วไปของปลาผีเสื้อ
ปลาผีเสื้อมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chaetodon lunulatus อยู่ในวงศ์ Chaetodontidae ในวงศ์ประกอบไปด้วยปลาจาก 12 สกุล จำนวน 130 ชนิดพบในทะเลไทยพบไม่ต่ำกว่า 25 ชนิด ปลาผีเสื้อมีลำตัวสั้น แบนด้านข้าง ปากมีขนาดเล็กอาจยืดหดได้ ภายในปากมีฟันละเอียด ครีบหลังมีอันเดียว ประกอบด้วยก้านครีบแข็งอยู่ส่วนหน้าและก้านครีบอ่อนอยู่ถัดไป ครีบทวารมีก้านครีบแข็ง 3 อัน และแผ่นยื่นรับกับครีบหลัง ปลาผีเสื้อมีนิสัยเฉื่อยชา ว่ายน้ำหรือเคลื่อนไหวไปอย่างช้า ๆ ไม่ว่องไวเหมือนปลาอื่น ๆ เป็นปลาที่มีเนื้อไม่เป็นที่นิยมกิน รวมทั้งตัวเล็ก และจับได้ไม่มากจึงไม่นิยมกิน เพราะฉะนั้นจึงมีไว้เพื่อเลี้ยงดูเล่นจะเหมาะที่สุด นิยมเลี้ยงกันมากในวงการเลี้ยงปลาทะเลสวยงามในปัจจุบัน มีราคาดี เป็นที่สนใจและต้องการในตลาด ของวงการเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม
ปลาในสกุลนี้รวมไปถึงปลาผีเสื้อที่หลายคนอาจจะเข้าใจผิดว่าเป็นปลาชนิดอื่น เช่น โนรีหรือโนรีเกล็ด แต่ไม่รวมปลาที่เรียกกันว่า ปลาผีเสื้อเทวรูป หรือโนรีหนัง (Zanclus cornutus) ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับปลาผีเสื้อแต่ไปใกล้ชิดกับพวกปลาขี้ตังเป็ด หรือพวกปลาแทงค์เสียมากกว่า ปลาในกลุ่มนี้มีลำตัวแบน และมีซี่ฟันเล็ก ๆ กระจายทั่วทั้งปาก อันเป็นที่มาของชื่อสกุลที่แปลไว้ว่า “มีฟันคล้ายซี่แปรง” ทั้งนี้ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่มักจะสับสนระหว่างปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อกับปลาสินสมุทร (Angelfish) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Pomacanthidae แต่จุดเด่นที่แตกต่างคือปลาผีเสื้อไม่มีเงี่ยงที่ใต้กระบังเหงือก
ชื่อของปลาผีเสื้อในบ้านเรานั้นมักจะตั้งขึ้นจากลวดลาย และสีสันบนลำตัวของปลา โดยมีคำว่าผีเสื้อนำหน้าซึ่งคำว่าปลาผีเสื้อนี้จะหมายถึงปลาในสกุล Chaetodon, Forcipiger, และHemitaurichthys เป็นหลัก ส่วนปลาผีเสื้อในสกุล Chelmon, Parachaetodon และ Coradion นั้นจะถูกเรียกว่า กระจิบ ในขณะที่ โนรี นั้นจะหมายถึงปลาในสกุล Heniochus เพียงชนิดเดียว
การแพร่กระจายของปลาผีเสื้อ
ปลาในกลุ่มนี้มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไป โดยเฉพาะในแนวปะการังตามเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก และในเขตอินโด-แปซิฟิก ปลาในกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในระดับความลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เราสามารถพบปลาผีเสื้อได้ในบริเวณที่น้ำมีความสะอาด และมีความอุดมสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับความลึกเพียงเอวไปจนถึงระดับระดับความลึกหลายร้อยเมตร และปลาผีเสื้อหลายชนิดยังมีเขตกระจายพันธุ์ที่จำกัด เช่น ผีเสื้อเกาะอีสเตอร์ (Chaetodon litus) ที่พบเฉพาะรอบ ๆ เกาะอีสเตอร์กลางมหาสมุทรแปซิฟิก
ความชุกชุมของปลาผีเสื้อในแนวปะการังทั่วน่านน้ำไทย ได้แก่ เกาะค้างคาว จ.ชลบุรี หมู่เกาะชุมพร จ.ชุมพร เกาะขาม เกาะหนู เกาะแมว จ.สงขลา เกาะลอปี เกาะโลซิน จ.นราธิวาส หมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา หมู่เกาะเภตรา หมู่เกาะตะรุเตา จ.สตูล พบว่า มีปลาผีเสื้อวงศ์ Chaetodontidae จำนวน 42 ชนิด (ไม่รวมปลาผีเสื้อเทวรูป) ความหลากหลายของปลาผีเสื้อในแต่ละบริเวณมากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแนวปะการัง กล่าวคือ หากแนวปะการังมีความอุดมสมบูรณ์มากความหลากหลายของปลาผีเสื้อก็จะมาก ในทางกลับกันหากความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังมีน้อยความหลากหลายของปลาผีเสื้อก็จะน้อยตามไปด้วย
ปลาผีเสื้อชนิดใหม่ซึ่งเป็นชนิดแรกที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยพบที่เกาะซินมี 2 ชนิดด้วยกันค่ะคือ ผีเสื้อจุดดำ(Ovalspot Butterflyfish) และ Chaetodon baronessa (Eastern triangle butterfly fish) นอกจากนี้ยังพบปลาผีเสื้ออีก 3 ชนิดที่พบว่ามีการแพร่กระจายทางฝั่งอ่าวไทยเป็นครั้งแรก ได้แก่ ผีเสื้อลายไขว้ (Chaetodon auriga) ผีเสื้อพระจันทร์ (Chaetodon lunula) และผีเสื้อลายเส้น (Chaetodon lineolatus) เนื่องจากปลาผีเสื้อทั้ง 3 ชนิดดังกล่าวนั้นมีรายงานพบเฉพาะที่ฝั่งทะเลอันดามันเท่านั้น
ปลาผีเสื้อเกาะอีสเตอร์ (Chaetodon litus) พบเฉพาะรอบ ๆ เกาะอีสเตอร์กลางมหาสมุทรแปซิฟิก
สังคมของปลาผีเสื้อ
ปลาผีเสื้ออาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงหรือเป็นคู่ แต่ปลาผีเสื้อหลายชนิดมีการเลือกเพียงครั้งเดียวตลอดชีวิต หรืออย่างน้อย ๆ หกปี ที่สำคัญพบว่าปลาผีเสื้อหลายชนิดจะมีจุดสีดำบริเวณโคนหางหรือปลายครีบและพรางดวงตาที่แท้จริงด้วยแถบสีดำ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเอาตัวรอดจากศัตรูไม่ให้เข้าจู่โจมได้ง่าย ๆ
ปลาผีเสื้อเป็นปลาที่หากินในเวลากลางวัน เมื่อพลบค่ำจะหลบเข้าไปหาที่หลับนอนตามซอกหิน หรือโพรงปะการัง ในเวลากลางคืนปลาผีเสื้อจะเปลี่ยนสีตัวเองให้เข้มขึ้นโดยจะเป็นแต้มสีน้ำตาล หรือแถบสีเทาก็เพื่อให้ปลอดภัยจากอันตรายและศัตรูตามธรรมชาติ
การสืบพันธุ์ของปลาผีเสื้อ
ปลาในกลุ่มนี้จะสืบพันธุ์วางไข่โดยการปล่อยไข่ให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ก่อนจะรอวันให้ลูกปลาฟักออกมาเป็นตัวและกลับไปอาศัยในแนวปะการังต่อไป ลูกปลาผีเสื้อแทบทุกชนิดมีรูปร่างหน้าตาแทบจะเหมือนกับตัวเต็มวัย โดยมักจะมีจุดบริเวณครีบหลัง และเมื่อลูกปลาโตขึ้นจุดที่ว่านี้ก็จะหายไปเช่นเดียวกับในแนวปะการังอื่น ๆ อีกหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ปลาผีเสื้อพระจันทร์เมื่อวัยอ่อนจะมีจุดสีดำที่ปลายครีบก้น แต่เมื่อโตขึ้นลวดลายดังกล่าวนั้นก็จะหายไปและจะมีลักษณะเหมือนกับพ่อ-แม่ปลา
การเลี้ยงปลาผีเสื้อ
ปลาผีเสื้อจะเป็นปลาสวยงามที่ได้รับความสนใจ แต่ปลาในกลุ่มปลาผีเสื้อนั้นไม่ใช่ปลาที่สามารถเลี้ยงได้ง่าย หลายชนิดไม่สามารถเลี้ยงให้รอดได้ เช่น ปลาผีเสื้อลายเสือ (Chaetodon meyeri) หรือแม้กระทั่งผีเสื้อเหลือง (C. andamanensis) เนื่องจากอาหารหลักของพวกมันคือโพลิปของปะการังเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับปลาผีเสื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการกินอาหาร ตลอดจนความไปได้ในการดำรงชีวิต ในเบื้องต้นพบว่าปลาจะยังไม่กินอาหารสำเร็จรูปที่ให้ในทันที และวิธีที่ดีที่สุดในการฝึกปลาให้กินอาหรนั้นก็คือ การให้หอยลายอ้าเปลือกที่ล้างให้สะอาดด้วยน้ำจืด หรืออาหารทะเลสดสับละเอียดที่แช่แข็งแล้วบิให้ปลากินทีละน้อย หรืออาจเลี้ยงปลาผีเสื้อด้วยไรทะเลที่สะอาดด้วยการล้างด้วยน้ำจืดหลาย ๆ ครั้งแล้วแช่น้ำจืดไว้ประมาณ 10 นาทีก่อนให้ จากนั้นให้ผู้เลี้ยงสังเกตการณ์กินของปลาหากปลากินอาหารดีขึ้นก็อาจจะลองให้อาหารสำเร็จรูปสลับ
อย่างไรก็ตามในการเลี้ยงปลาผีเสื้อนั้นผู้เลี้ยงต้องมีการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ทั้งในเรื่องการควบคุมคุณภาพน้ำ อุณหภูมิ และอาหาร อันเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้น ๆ ในการรักษาชีวิตของปลากลุ่มนี้ให้รอดในระยะยาว


ปลาผีเสื้อ 12 สกุล ได้แก่
1 Amphichaetodon 7 Hemitaurichthys
2 Chaetodon 8 Heniochus
3 Chelmon 9 Johnrandallia*
4 Chelmonops 10 Roa
5 Coradion 11 Parachaetodon*
6 Forcipiger 12 Prognathode
หมายเหตุ: * แทนความเป็น Monotypic Genus อันหมายความว่าทั้งสกุลมีปลาเพียงชนิดเดียว
ปลาผีเสื้อชนิดต่าง ๆ
ปลาผีเสื้อที่พบในประเทศไทยมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน บางชนิดพบเฉพาะในอ่าวไทย บางชนิดพบเฉพาะฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และบางชนิดพบอยู่ทั้งสองฝั่ง แต่นำมาฝากคนรักปลาผีเสื้อนั้นจำนวน 7 สกุล15 ชนิดพร้อมกับลักษณะและพฤติกรรมที่น่าสนใจบางประการอีกด้วยเริ่มจาก
สกุล Hemitaurichthys
เป็นปลาผีเสื้อกลุ่มที่หากินกับแพลงก์ตอนที่ลอยมากับกระแสน้ำเป็นหลัก แทนที่จะเป็นปะการังอย่างผีเสื้อสกุลอื่น ๆ แต่ถึงกระนั้นพวกมันก็ยังต้องพึ่งแนวปะการังเป็นที่หลบซ่อนตัวและเป็นแหล่งอาหารเช่นเดียวกับผีเสื้อชนิดอื่น ๆ
การที่เลี้ยงปลากลุ่มนี้ซึ่งกินแพลงก์ตอนเป็นอาหารจึงทำให้พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับได้ดีกว่าชนิดอื่น ๆ ปลาในกลุ่มนี้ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีคงหนีไม่พ้น ผีเสื้อม้าลาย (Hemitaurichthys zoster) เป็นปลาผีเสื้อเพียงตัวเดียวที่พบได้ในน่านน้ำไทย

ที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bm521/ns01_2/seafish/butter1.html

ปลาสิงโต


ชื่อสามัญ Lion Fish

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterois antennata

ขนาดลำตัว 8-13 ซม.

ปลาสิงโต เป็นปลามีพิษซึ่งพิษอยู่ที่ก้านครีบ ปลาสิงโตจะอยู่ในครอบครัว Scorpaenidae ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่
ปลาสิงโต ( Pteroinae ) และ
2.ปลาหินและปลาแมงป่อง ( Scorpaeninae )
ทั้งหมดนี้จะเป็นปลามีพิษร้ายแรง โดยที่พิษจะอยู่ที่ครีบแข็งทั้งหลาย เช่น ครีบอก ครีบหลัง พิษพวกนี้มีไว้ให้ป้องกันตัวอย่างเดียว เมื่อมีอันตรายเข้าใกล้ ปลาสิงโตจะกางครีบ เป็นการข่มขู่ แต่จะไม่ค่อยออกมาโจมตี หรือเอาครีบทิ่มแทงใคร

ปลาสิงโต ชอบอำพรางตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้าไปโดนพิษส่วนใหญ่จะเจ็บจี๊ดแล้วปวดขึ้นเรื่อยๆ

ข้อแนะนำ ถ้าโดนพิษปลาสิงโต ให้ทำความสะอาดแผล แล้วใช้ความร้อนเข้าสู้ พิษของปลาพวกนี้จะเป็นโปรตีน เมื่อโดนความร้อนจะสลายไป อาจจะใช้ไดร์เป่าผม น้ำอุ่น กระเป๋าน้ำร้อน หรืออะไรก็ได้ที่ร้อนๆประคบไว้ อาจจะใช้วิธีอังไฟก็ได้นะค่ะ ปรกติจะปวดประมาณ 24 ชม.แล้วจะค่อยๆ เบาลง

ลัษณะทั่วไป
ปลาตัวนี้จะมีลำตัวที่หนา มีครีบที่แข็งทั้งยังเป็นพิษร้าย บริเวณหัวจะมีหนามแหลม แต่บางตัวจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผิวหนังตามหัว และลำตัวเป็นแผ่นยื่นออกมากซึ่งคล้ายกันปลาพันธุ์นี้มีหนวด การว่ายน้ำค่อนข้างเชื่องช้าชอบนอนนิ่งอยู่ตามพื้น ปลาสิงโตบางตัวมีสีที่กลมกลืนกับสีของพื้นทะเลซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการอำพรางตัวเพื่อล่าอาหารอีกด้วย
ปลาสิงโต ชนิดที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่

1.ปลาสิงโตครีบยาว หรือปลาสิงโตธรรมดา ชื่อสามัญ Ragged-Finned lionfish ปลาสิงโตพันธุ์นี้จะมีจุดเด่น คือ ครีบของปลาค่อนข้างยาว บริเวณลำตัวจะเป็นลายแดงสลับแถบขาว ส่วนครีบของปลามีลักษณะเป็นหนวดยาว พบได้ทั้งมีสีขาว และลายบ้างเล็กน้อย
2.ปลาสิงโตลายขาว ชื่อสามัญ White-lined lionfish ปลาสิงโตลายขาวจะเหมือนกับปลาสิงโตครีบยาว บริเวณลำตัวจะมีลายสีขาวเส้นเล็กๆคาดบริเวณลำตัว หนวดนั้นส่วนใหญ่จะพบเป็นสีขาว มีข้อแตกต่างจากปลาสิงโตครีบยาว คือจะมีลายเส้นขาวเล็กๆพาดตามตัวเป็นหลัก

อาหาร ปลาสิงโตจะลอยตัวนิ่งๆพุ่งเข้าชาร์ทเพยื่อด้วยความเร็วสูง กินปลาเล็ก หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง ปู เป็นอาหาร

ปลาสิงโต สามารถเลี้ยงรวมกับปลาอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าปากของมัน โดยสามารถเลี้ยงรวมกับ กลุ่มปลาเก๋า ปลากระพง หรือปลาสร้อยนกเขาชนิดต่างๆ แม้กระทั่งในกลุ่มปลาหิน หรือปลานกขุนทอง ปลาตาหวาน ก็ได้

ปลาที่ไม่เหมาะที่จะเลี้ยงรวมกับปลาสิงโต ได้แก่ ปลาเล็กๆ หรือปลาที่ชอบแทะเล็มปลาอื่น ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาขี้ตังเบ็ด เพราะปลาพวกนี้ชอบไล่ตอด ทำให้ปลาสิงโตเกิดความรำคาญและเป็นแผลได้

เพื่อนๆค่ะ จริงๆแล้วปลาสิงโต หรือสัตว์มีพิษทุกตัวที่อยู่ในทะเล คงไม่คิดอยากที่จะทำร้ายใครเพียงแต่เขาป้องกันตัวเองเท่านั้น คนชอบปลา อยากชวนเพื่อนๆมาลองเลี้ยง ปลาสิงโต ด้วยกันมั้ยค่ะ

ที่มา : http://fishmini.blogspot.com/2010/06/blog-post_1174.html

ปลาบอลลูน



ปัจจุบัน ปลาบอลลูน มอลลี่ เป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่งที่คนไทยเลี้ยงเพื่อการส่งออก โดยส่งไปขายยังฮ่องกง, ไต้หวัน, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ เนื่องจากเป็นปลาสวยงามที่มีความหลากหลายสีสันอีกชนิดหนึ่ง ถึงแม้จะมีลวดลายน้อยกว่าปลาหางนกยูง แต่จะเด่นกว่าตรงครีบกระโดงหลังที่สูงและแผ่สะดุดตา ลักษณะเด่นของปลาบอลลูนคือ ลำตัวกลมเหมือนบอลลูน (ยิ่งกลมยิ่งสวย) ลำตัวสั้นและอ้วน การเลี้ยงปลาสวยงามชนิดนี้ในบ้านเรามีอยู่หลายชนิด ถ้าแยกเป็นสีได้แก่สีขาว, ดำ, ส้ม, เหลือง, ลายขาว-ดำ, ลายขาว-น้ำตาล, ลายขาว-ดำ-เหลือง และสีช็อกโกแลต เป็นต้น

คุณวินัย เจริญวงศ์ ชาวตำบลดอนทราย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี เลี้ยงปลาบอลลูน มอลลี่ มานาน 6-7 ปี ได้อธิบายถึงวิธีการเพาะขยายพันธุ์ปลาชนิดนี้ว่าทำง่าย เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว อัตราการปล่อย 1 : 3 คือ ตัวผู้ 1 ตัวต่อตัวเมีย 3 ตัว จะปล่อยให้ผสมพันธุ์ในบ่อปูนหรืออ่างก็ได้ คุณวินัยบอกว่าบ่อยิ่งกว้างจะปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ได้มาก โดยคิดอัตราปล่อยอัตรา 100 ตัวต่อพื้นที่บ่อ 1 ตารางเมตร ให้น้ำมีระดับความลึกประมาณ 30 เซนติเมตร พ่อ-แม่พันธุ์ควรจะใช้ปลาหนุ่ม-สาวอายุ 4-6 เดือน ถ้าปลามีอายุมากกว่านี้จะปลดระวางขายเป็นปลาไซซ์ใหญ่ จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าปลาบอลลูน มอลลี่จะออกลูกเป็นตัวเหมือนกับปลาหางนกยูงและปลาสอด

แม่ปลาจะตั้งท้องประมาณ 28-35 วัน และแต่ละแม่จะให้ลูกครั้งละ 10-30 ตัว แล้วจะพักไป 10-15 วัน ก็จะให้ลูกอีก ดังนั้นคนที่เพาะเลี้ยงปลาชนิดนี้จะต้องคัดลูกปลาออกทุกวันไม่เช่นนั้นพ่อ และแม่จะกินลูกจนหมด ในบ่อหรืออ่างควรจะมีไม้น้ำ เช่น ผักตบชวา, สาหร่าย, เชือกปอฟางฉีกฝอยเพื่อให้ลูกปลามีที่หลบซ่อน คุณวินัยบอกว่าบ่อที่ใช้ในการอนุบาลลูกปลาควรจะขัดให้สะอาดและตากแดดอย่างน้อย 2 วันเพื่อฆ่าเชื้อโรค อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกปลาให้ไรแดง 2 มื้อ เช้า-เย็น โดยให้พอประมาณ (ให้มากไปจะทำให้น้ำเน่าเร็ว)

พอโตได้สักระยะหนึ่งเปลี่ยนมาให้อาหารปลากินพืชเม็ดเล็ก เมื่อลูกปลามีอายุได้ราว 1 เดือน ให้คัดแยกตัวผู้และตัวเมียออก วิธีการสังเกตปลาตัวผู้และตัวเมียคือ ปลาตัวผู้ขนาดจะเล็กกว่าปลาตัวเมียแต่ส่วนของครีบกระโดงหลังของตัวผู้จะ ยาวกว่าของตัวเมีย เมื่อปลามีอายุได้ประมาณ 4 เดือน จับขายได้ ส่วนใหญ่จะขายคละกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย

คุณวินัยได้อธิบายถึงความแตกต่างของการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในบ่อดินและบ่อปูน ว่า ถ้าเลี้ยงในบ่อปูนปลาจะโตช้ากว่าที่เลี้ยงในบ่อดินถึง 1 เท่าตัว เช่น บ่อปูนใช้เวลาเลี้ยงนาน 4 เดือน ถึงจะจับขายได้ในขณะที่เลี้ยงในบ่อดินจะใช้เวลาเพียง 2-3 เดือนเท่านั้น ควรจะมีการถ่ายน้ำทุก ๆสัปดาห์และจะต้องถ่ายออกทั้งหมด เนื่องจากในช่วงอนุบาลลูกปลาจะมีเศษอาหารหลงเหลืออยู่มาก

สำหรับเคล็ดลับในการคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ปลา คุณวินัย บอกว่า คัดเอาปลารุ่นที่มีอายุ 4 เดือน ที่มีลักษณะตรงตามสายพันธุ์มาเป็น พ่อ-แม่พันธุ์ในรุ่นต่อไป โดยจะใช้พ่อ-แม่พันธุ์รุ่นนี้เพื่อให้ลูกนาน 2-3 เดือน ถึงจะเปลี่ยนพ่อ-แม่พันธุ์ชุดใหม่เข้ามาทดแทน ในการเลี้ยงปลาบอลลูน มอลลี่เพื่อการผลิตพันธุ์ไม่ควรเลี้ยงคละสี เพราะจะทำให้ปลากลายพันธุ์ได้

ที่มา : http://pet.kapook.com/view10309.html

ปลาสอด


ปลาสอด

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xiphophorus helleri Heckel, 1845
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Swordtail

ปลาสอดเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัว (Family) Poeciliidae และครอบครัวย่อย (Subfamily)
poeciliinae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Xiphophorus helleri Heckel, 1845 ซึ่งชื่อชนิดของ
ปลาสอด “helleri” ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์ Viennese Heller ปลาสอดมีชื่อสามัญ
ภาษาอังกฤษว่า Swordtail ซึ่งมาจากลักษณะครีบหางตอนล่างของปลาตัวผู้ ที่มีลักษณะยื่นยาวออกไป
คล้ายดาบ ซึ่งชื่อนี้ก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อสามัญของไทยด้วย

ปลาสอดมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ริโอนอตลา ในเม็กซิโกถึงเบลิซ และฮอนดูรัส กินพืชน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์
และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร เพศผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลย
ขอบหาง มีลักษณะเรียวแหลม คล้ายดาบ ปลาสอดเพศผู้จะมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร และช่วง
หางดาบอาจมีความยาว 4-8 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศเมียมีความยาวประมาณ 16 เซนติเมตร ความยาวลำตัว
จะมีความแปรปรวนมากในแต่ละตัว ปลาสอดบางตัวอาจมีความยาวแค่ 5-6 เซนติเมตร บวกความยาวของดาบ
ประมาณ 3 เซนติเมตร บางตัวยาว 8-10 เซนติเมตร ปลาสอดจะมีลำตัวยาวเรียว และหัวแหลม

ปลาสอดชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุมเบาบางจนถึงหนาแน่น อุณหภูมิน้ำประมาณ 24-28
องศาเซลเซียส เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำใด
แหล่งน้ำหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงพบปลาชนิดนี้ทั่วไปในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลแรงตามแม่น้ำ บ่อ ทะเลสาบ และ
บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง สาเหตุที่ปลาสอดสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกัน ทำให้มีลวดลาย และมีสี
หลากหลายมากในธรรมชาติ โดยทั่วไปปลาสอดสีเขียวจะเป็นที่รู้จักกันมากในธรรมชาติ จะมีแถบตรงกลางสี
แดงเข้ม หรือสีน้ำตาลพาดตามลำตัว และบางทีอาจพบแถบสีเพิ่มอีก 4 แถบ อยู่ด้านบน 2 แถบ และด้านล่าง
แถบกลางลำตัวอีก 2 แถบ ช่วงท้องจะมีสีขาว และที่ครีบหลังจะมีจุดแดง ปลาสอดเพศผู้ที่ขอบครีบหาง
ตอนล่างมีลักษณะคล้ายดาบจะมีสีเหลืองและดำ บางครั้งอาจพบจุดสีดำบนลำตัว ปลาสอดเป็นปลาที่รักสงบ
สามารถอยู่รวมกับปลาชนิดอื่นได้
ปลาสอดเป็นปลาที่ต้องดูแล และเอาใจใส่เหมือนกับปลาออกลูกเป็นตัวชนิดอื่น และยังสามารถเลี้ยงรวม
กับปลาชนิดอื่นได้ด้วย ปลาสอด ยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความอดทน และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่
จำเป็นต้องติดตั้งท่อออกซิเจนในบ่อ หรือสถานที่เลี้ยงมันก็อาศัยอยู่ได้ ที่สำคัญจัดเป็นปลาสวยงามที่เพาะขยาย
พันธุ์ได้ง่ายมีความหลากหลายทางด้านสีสัน และปลาสอดเป็นปลาสวยงามที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง เหมาะที่จะ
นำมาฝึกเลี้ยง สำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลา และไม่ค่อยมีเวลามากนัก เพราะปลาสอดเป็นปลาเลี้ยงง่ายราคาซื้อขาย
ไม่แพงนัก มีความทนทานดี การเลี้ยงปลาสอดควรใส่พืชน้ำลงไปด้วย จะทำให้ดูแล้วสวยงามแล้ว ยังเป็นที่
หลบซ่อนของลูกปลาตัวเล็ก ๆ ไม่ให้ถูกปลาใหญ่กินอีกด้วย

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=204

ปลามังกร


ปลามังกร


ปลาอโรวาน่า (Arowana) AROWANA หรือ "Bonytongue fish" มีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ปลาตะพัด หรือ ปลามังกร มีลักษณะเด่นที่รูปร่างคล้ายมังกรและมีความเชื่อกันว่าเป็นปลานำโชค ปลาชนิดนี้จัดอยู่ในครอบครัวออสทีโอกลอสซิตี้ (Osteoglossidae) ประกอบด้วยปลา 4 สกุล (Genus) และ 7 ชนิด (Species) ซึ่งแต่ละชนิดมีถิ่นกำเนิดแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ลักษณะรูปร่าง

มีลักษณะลำตัวยาวแบนข้าง ส่วนท้องแบนมาก เป็นสันคม ความกว้างลำตัวบริเวณส่วนต้นและส่วนท้ายของลำตัว (บริเวณโคนครีบก้น)เกือบเท่ากัน มีความยาวลำตัวเป็น 3.5-4.8 เท่าของความกว้างลำตัว และ 3.5-4 เท่าของความยาวส่วนหัว ปลาที่มีอายุน้อยบริเวณสันหลังจากจงอยปากไปจนถึงบริเวณโคนหางเกือบเป็นเส้นตรง แต่แม่ปลาอายุมากขึ้นจะโค้งเล็กน้อย เกล็ดบริเวณลำตัวมีขนาดใหญ่ หนา และแข็งแรง

จำนวนเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัว (lateral line) 21-24 เกล็ด ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางด้านหลัง ครีบหลังสั้นกว่าครีบก้น ครีบก้นมีความยาวเท่าๆกับความยาวของส่วนหัว ครีบหลังมีจำนวนครีบ 20 ก้าน ครีบก้นมี 26-27 ก้าน ครีบอกค่อนข้างยาว ยาวจนถึงโคนครีบท้องวัดความยาวได้ประมาณ 1 ใน 3 ของความยาวลำตัว และมีจำนวน 7 ก้าน

ครีบท้องสั้นมีเพียง 5 ก้าน ครีบหางกลมมนไม่ติดกับครีบหลังและครีบก้น ปลาชนิดนี้ปากกว้างมาก เฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยาวเลยไปทางด้านล่างของส่วนหัว บนขากรรไกรและเพดานปากมีฟันแหลมคม ขากรรไกรล่างยื่นยาวกว่าขากรรไกรบนเล็กน้อย ที่ปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่สั้นๆ 1 คู่ ตามีขนาดใหญ่มากกว่าความยาวของจงอยปากเล็กน้อย

ปลาอะโรวาน่าชนิดนี้โตเต็มที่มีความยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม ชอบอาศัยแหล่งน้ำบริเวณภูเขาที่มีน้ำไหลเอื่อยๆ ที่พื้นท้องน้ำเป็นหินปนทรายน้ำค่อนข้างขุ่นและเป็นกรดเล็กน้อย(pH 6-6.5) เป็นปลาที่มีไข่จำนวนน้อย ปลาขนาด 3-6 กิโลกรัม จะมีไข่ประมาณ 40-100 ฟองเท่านั้น เมื่อวางไข่แล้วจะฟักไข่ในปากขนาดไข่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.72 เซนติเมตร สามารถแบ่งตามทวีปที่พบได้ 4 ทวีป ดังนี้

1. อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย

ปลาอะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย จัดเป็นอะโรวาน่าที่นิยมสูงสุด ในหมู่นักเลี้ยงปลา ในกลุ่มนี้ มีชื่อ วิทยาศาสตร์ว่า Scleropages Formosus รูปร่างของปลา จะค่อนข้างออกไปทาง ป้อมสั้น หากเทียบกับสายพันธุ์ ที่มาจากทวีปอเมริกาใต้ นอกจากนี้ยัง จัดเป็นกลุ่มที่มีราคาแพงที่สุด อันเนื่องมาจาก สีสรร อันสวย เกินบรรยาย สีทองดั่งทองคำเปลว หรือ สีแดงแบบเลือดนก

1. อะโรวาน่าทองมาเลย์ ( CROSS BACK )

อะโรวาน่าทองจากมาเลเซีย มีชื่อเรียกหลายแบบ ตามแหล่งที่พบ เช่น ปาหังโกลด์ มาลายัน โบนีทัง (Malayan Bony Tongue), บูกิทมีราสบลู, ไทปิงโกลด์เดน หรืออะโรวาน่าทองมาเลย์ สาเหตุของการมีชื่อเรียกมากมาย อย่างนี้ ก็เพราะว่าอะโรวาน่าชนิดนี้ สามารถพบได้ทั่วไป ในมาเลเซีย ปลาอะโราวาน่าทองมาเลเซีย จัดเป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีราคาแพงที่สุดในบรรดาประอะโรวาน่าด้วยกัน ทั้งนี้เนื่องมาจากปลาชนิดนี้ จะให้ลูกน้อย และในธรรมชาติ หาได้ยากเต็มทีแล้ว ทุกวันนี้มีเพาะเลี้ยงกันที่ ในมาเลเซียและสิงคโปร์เท่านั้น อะโรวาน่าทองมาเลเซีย สามารถแบ่งจริงๆ ได้เป็น 3 พวก ใหญ่ๆ คือ

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีน้ำเงิน หรือม่วง ( Blue or Purple Based )

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีทอง (Gold Based)

- สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีเขียว (Green Based)

สำหรับ ปลาประเภท 1 และ 2 บางครั้งจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน เนื่องจาก สีน้ำเงิน หรือ ม่วงที่เราเห็น ขึ้นอยู่กับมุมสะท้อน ที่เราดูปลา เลยทำให้บางครั้งเราเห็น ออกสีม่วง ทั้งที่ความจริงแล้ว ปลามีฐานเกล็ดสีน้ำเงิน สำหรับแบบที่ 3 หรือ แบบที่มีฐานเกล็ดสีทอง แบบนี้ จัดว่าเป็นสุดยอดของปลาอะโรวาน่า ทองมาเลเซีย เนื่องจาก เมื่อปลาโตเต็มที่ ปลาจะมีสรรที่เหลืองอร่าม ดั่งทองคำเคลื่อนที่ ปลาชนิดนี้ ดูเหมือนจะเป็นอะโรวาน่าทองมาเลย์ประเภท แรก ที่สีทองจะอ้อมข้ามหลังได้เร็ว กว่าสายพันธุ์อื่นๆ

การผสมข้ามสายพันธุ์ ก็ได้ทำให้เกิด สายพันธุ์ใหม่ๆ ของอะโรวาน่าทองมาเลเซีย ขึ้นมา ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า Platinum White Golden และ Royal Golden Blue Arowana เป็นต้น

2. อะโรวาน่าแดง ( Red Arowana )

ปลาอะโราวาน่าแดง ที่มีขายกันในบ้านเรา มีที่มาจากหลายแหล่งน้ำ ในทางตะวันตกของกัลลิมันตัน ในประเทศ อินโดนีเซีย บริเวณแนวสันหลังจะมีสีน้ำตาล เกล็ดบริเวณลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัว มีสีเขียวเหลือบสีแดง หรือแดงอมส้ม บริเวณส่วนท้องและแผ่นปิดเหงือกสีแดงหรือแดงอมส้มครีบอกและครีบท้องสีเขียว แต่บริเวณส่วนปลายครีบจะมีสีแดงหรือแดงอมส้ม ริมฝีปากก็จะมีสีแดงหรือแดงอมส้มเช่นกัน อะโรวาน่า แดง สามารถ แบ่งได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ

- แดงเลือดนก (Blood Red)

- แดงพริก (Chilli Red )

- แดงส้ม (Orange Red)

- แดงอมทอง (Golden Red)

ในปัจจุบัน อะโรวาน่าแดง ทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ถูกเรียก รวมๆ ทั้งหมด ว่า Super Red เนื่องจาก ปลาอะโรวาน่าแดง ประเภท Orange Red และ Golden Red เวลาโต จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่าสีจะไม่แดงเข้ม เท่า 2 สายพันธุ์แรก จากรูปข้างบน จะเห็นได้อย่างเด่นชัดว่า คุณภาพสีแดงของ Orange Red และ Golden Red จะออกไปทางส้มอม แดง หรือ ทองอม แดง

ชิลี่เรด และ บัดเรด ทั้งสองตัวนี้ มีแหล่งกำเนิดจาก แม่น้ำ Kapaus และทะเลสาบ Sentarum ซึ่งทะเลสาบ Sentarum นี้จะประกอบไป ด้วยทะเลสาบย่อยๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้หมด ทางตอนปลายจะมีทางออกสู่ แม่น้ำ Kapaus ธรรมชาติของแม่น้ำนี้ จะถูกปกคลุม ด้วยต้น Peat ซึ่งทำให้แลดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับ การดำรงชีวิตของปลาชนิดนี้มาก สภาพ น้ำในแม่น้ำ Kapuas จะมีสีดำ ของแร่ธาตุ และอาหาร ซึ่งมีผลต่อสีของปลา ทำให้ อะโรวาน่าแดง มีสายพันธุ์ย่อยๆ ลงไปอีก โดยสามารถแบ่งแยกได้ จากความเข้มของสี ที่แตกต่างกัน และ รูปทรงของปลา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวนี้ พ่อค้าปลา ได้ตั้งชื่อเรียกปลาอะโรวาน่า ชุดแรกๆ ที่มีการส่งออก ว่า Chilli Red และ Blood Red โดยที่จะใช้ ความเข้มของสีแดงและ รูปทรงของปลา ในการจำแนก ปลาทั้งสองชนิดออกจากกัน ในปลาที่โตเต็มที่ ชิลี่เรด จะสีแดงคล้ายพริกในขณะที่ บัดเรด จะแดงออกสีเลือด ชีลี่เรด จะมีตาที่ใหญ่สีแดง และหางที่มีรูปร่างคล้ายรูปร่างของเพชร ในขณะที่ บัดเรด จะมีตาที่เล็กกว่า ขาวกว่าและรูปแบบหาง จะกลม เปิดกว้างมากกว่า ตาที่ใหญ่ของชีลี่เรด บางครั้งขอบ ตาบนจะแตะระดับส่วนบนของหัวพอดี

3. อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย ( Red Tail Golden Arowana )

จำแนกอยู่ภายใต้กลุ่มอะโรวาน่าทอง เช่น เดียวกับทองมาเลย์ ปลาชนิดนี้ พบใน Pekan Baru ในประเทศอินโดนีเซีย เวลามันโต เต็มที่ มันจะไม่ทองแบบเหลืองอร่ามทั้งตัว ทองอินโด สามารถแบ่งประเภท ตาม สีของเกล็ดได้ 4 ประเภท คือ พวกที่มีฐานเกล็ด สีน้ำเงิน, เขียว และ ทอง อะโรวาน่าทองที่มีขนาดเล็ก จะมีสีที่ด้านกว่าของมาเลย์อย่างเห็นได้ชัด

4. อะโรวาน่าเขียว Green Arowana

แหล่งกำเนิดของปลาตัวนี้ พบกระจายอยู่ใน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และ ประเทศไทย ใน แถบจังหวัด จันทบุรี ตราด บริเวณด้านหลังจะมีสีเขียวอมน้ำตาล สีเทา หรือเทาอมเขียว เกล็ดบริเวณด้านข้างลำตัวมีสีเงินหรือเงินเหลือบเขียว ครีบทุกครีบสีน้ำตาลอมเขียว

2. อะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้

สำหรับ อะโรวาน่าที่มาจากทวีปอเมริกา มีด้วยกัน 3 ชนิด คือ อะโรวาน่าเงิน อะโรวาน่าดำ และ อะราไพม่า ชาวพื้นเมือง จะเรียกปลาอะโรวาน่า ว่า "ลิงน้ำ (Water Monkey)" เนื่องจากลักษณะการ กระโดด ขึ้นกินแมลง ที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ เหนือ ผิวน้ำ

อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)

มีแหล่งกำเนิดในลุ่มน้ำอะเมซอนในจิอานา(Guiana) อเมริกาใต้ เมื่อโตเต็มที่ยาวถึง 1 เมตร ลำตัวยาวและแบนข้างมาก เรียงไปทางส่วนโคนหาง ส่วนท้องแบนเป็นสัน ลำตัวมีสีเงินอมเทา หรือเหลืองอมเขียว บางตัวเมื่อโตขึ้นจะมีสีขาวเหมือนหิมะ จึงเรียกว่า snow arowana บริเวณลำคอจะมีสีส้มหรือส้มอมแดง เกล็ดตามตัวมีขนาดใหญ่ เกล็ดตามเส้นข้างตัวมี 31-35 เกล็ด บนเกล็ดมีจุดสีแดงและสะท้อนแวววาวเมื่อมีแสงสว่าง ครีบมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน ปากกว้างมากเมื่อยื่นขึ้นไปด้านบน ริมฝีปากล่างยื่นออกไปกว่าริมฝีปากบนเล็กน้อย ปลายริมฝีปากล่างมีหนวดขนาดใหญ่ 2 เส้น หนวดมีสีน้ำเงินหรือฟ้าน้ำทะเล ครีบก้นยาวมากเริ่มจากลำตัวยาวไปจนถึงโคนหางมีก้านครีบ 50-55 ก้าน ส่วนครีบหลังอยู่ตรงกันข้ามกับครีบก้นแต่สั้นกว่าครีบก้นเล็กน้อย จำนวนก้านครีบ 42-46 ก้าน

อะโรวาน่าดำ (Black Arowana)

พบแพร่กระจายบริเวณแม่น้ำริโอนิโกร (Rio Negro) ในบราซิล ลักษณะลำตัวโดยทั่วไปจะคล้ายคลึงกัน กับอะโรวาน่าเงินมากในขณะที่ปลาอายุยังน้อยยังมีเส้นขนาดเล็กคาดอยู่ อะโรวาน่าดำจะมีสีคล้ำกว่าอะโรวาน่าเงินมาก และจะมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวลำตัว แต่เมื่อปลามีอายุมากขึ้น สีบริเวณลำตัวจะซีดจางลงจนมีสีใกล้เคียงกับอะโรวาน่าเงิน จุดที่พอจะสังเกตุความแตกต่างได้เมื่อปลาอายุมากขึ้นคือ ครีบหลังและครีบก้น อะโรวาน่าดำจะมีขอบครีบหลังและครีบก้นเป็นสีดำในขณะที่อะโรวาน่าเงินไม่มี

อะราไพม่า หรือ ปลาช่อนยักษ์ ( Aarapaima )

ในธรรมชาติปลาอะราไพม่าจะกิน ปลาตระกูลแคชฟิช บางชนิดเป็นอาหาร ในบางครั้งก็อาจจะกระโดดขึ้นมาเหนือน้ำ เพื่อจับนก ที่บินไปบินมา ปลาพิรารูคู หรือ อะราไพม่า ที่เรารู้จักดี เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดในโลก สามารถเติบโต ได้ถึง 10 ฟุต น้ำหนักถึง 400 ปอนด์ จากหลักฐานเท่าที่มีการยืนยัน เมื่อ ร้อยปีที่แล้วมีคนเคยจับได้ขนาดใหญ่สุดถึง 15 ฟุต 4.6 เมตร ปลาช่อนยักษ์จะวางไข่ราวๆ ช่วงเดือนมกราคม ถึง มีนาคม ไข่เป็นพันๆ ฟองจะถูกวางในแอ่งดินใต้น้ำ ที่พ่อแม่ปลา ช่วยกันเตรียมรังเอาไว้ต้อนรับลูกน้อย

ปลาชนิดนี้ มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tongue ซึ่งมีฟันชุดที่สองเรียงราย อยู่ ด้วยคุณสมบัติดังนี้ ทำให้ปลาช่อนยักษ์ สามารถกินปลาในตระกูล Catfish ซึ่งเป็นปลาที่มีเกราะหุ้ม อันแข็งของปลาในกลุ่มนี้

3. อะโรวาน่าจากทวีปแอฟริกา (African Arowana)

อะโรวาน่าที่พบในอัฟริกามีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น อาศัยแพร่กระจายอย่างกว้างขวางจากตอนบนของแม่น้ำไนล์ บริเวณส่วนกว้างอัฟริกาไปจนถึงฝั่งตะวันตก ขนาดใหญ่ที่สุดของปลาชนิดนี้ มีความยาวลำตัวถึง 4 ฟุต ลำตัวค่อนข้างแบนและกว้าง(ลึก) ส่วนหัวค่อนข้างหนาและสั้น ด้านบนโค้งเล็กน้อย ลำตัวด้านหลังและด้นข้างมีสีน้ำเงินอมดำ น้ำตาลอมเทา น้ำตาลอมแดงหรือน้ำตาลอมเขียว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ ส่วนบริเวณท้องจะมีสีซีดกว่าด้านข้าง อาจจะมีสีครีมหรือน้ำตาลอมเหลือง ส่วนครีบต่างๆจะมีสีคล้ายกับสีของลำตัว จงอยปากสั้นกลม ริมฝีปากหนา ปากมีขนาดเล็กแต่มีฟันเต็มปาก ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง ครีบหลังและครีบท้องอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหางมีขนาดเล็ดรูปร่างกลม ครีบอกและครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบอกอยู่ค่อนไปทางด้านล่างของลำตัว ครีบท้องมีก้านครีบเพียง 6 ก้าน บริเวณหัวไม่มีเกล็ด เกล็ดตามแนวเส้นข้างลำตัว 32-38 เกล็ด

4. อะโรวาน่าจากทวีปออสเตรเลีย (Saratogos)

ที่พบในทวีปนี้ มีด้วยกัน 2 ชนิด พบที่ออสเตรเลียเหนือ มีชื่อว่า Nothern Saratogas และที่พบที่ ออสเตรเลียตะวันออก ชื่อว่า Spotted Saratogas

อะโรวาน่าออสเตรเลียเหนือ (Nothern Saratoga)

พบในทางตอนเหนือ ของประเทศออสเตรเลีย และ หมู่เกาะนิวกีนี ในประเทศอินโดนีเชีย ปลาชนิดนี้ เป็นปลาอะโรวาน่า ที่มีรูปร่าง ที่คล้าย อะโรวาน่าจากทวีปเอเชียมากที่สุด

มีขนาดโตเต็มที่ ประมาณ 90 เซนติเมตร ลักษณะ ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ของอะโรวาน่าออสเตรเลีย จากอะโรวาน่าในแถบทวีปเอเชีย คือ จำนวนแถว ของเกล็ด จะมีมากแถวกว่า โดยที่อะโรวาน่าออสเตรเลีย จะมีเกล็ด 7 แถว ในขณะที่ ของอะโรวาน่าจากเอเชีย มี เพียง 5 แถว ส่งผลให้ขนาดของเกล็ดปลาจะมีขนาดเล็กลง ขอบเกล็ดของปลาอะโรวาน่าชนิดนี้ จะออกสีส้ม เหลือบเขียว เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์

อะโรวาน่าออสเตรเลียตะวันออก (Spotted Saratoga)

มีถิ่นกำเนิดในรัฐ ควีนส์แลนด์ ในลุ่มแม่น้ำ Dawson อะโรวาน่า ชนิดนี้ หรือ ที่เรียกกัน สั้นๆ ว่า อะโรวาน่าออสเตรเลียจุด มีขนาดความยาวสูงถึง 90 ซม. ลักษณะลำตัวยาวเรียว บริเวณสันหลังตรง ลำตัวบริเวณด้านหลังและด้านข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว หรือเหลืองอมเขียว บริเวณส่วนท้องสีจางกว่าลำตัว เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีเกล็ดตามเส้นข้างตัว 35 เกล็ด มีจุดสีส้มอมแดงและสะท้อนแสงบนเกล็ดแต่ละเกล็ดจำนวน 1-2 จุด ครีบหลังและครีบก้นสีเหลืองอ่อน ขอบครีบทั้งสองเข้มจนเกือบดำ ครีบก้นยาวกว่าครีบหลังเล็กน้อยมีก้านครีบ 31 ก้าน ครีบหลังมีก้านครีบ 20 ก้าน

ที่มา : http://pet.kapook.com/view167.html

ปลาหางนกยูง



เลี้ยงปลาหางนกยูงให้สีสวย (กรมประมง)

ปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาสวยงามประเภทหนึ่งที่มีผู้นิยมเลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีประมาณ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Cobra (คอบร้า) Tuxedo (ทักซิโด้) Mosaic (โมเสค) Grass (กร๊าซ) และ Sword tall ( นกยูงหางดาบ) พันธุ์เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงลำตัวใหญ่สมส่วน ไม่คดงอ มีการทรงตัวปกติ ครีบหางใหญ่ไม่หักพับขณะว่าย และที่สำคัญมีสีสันลวดลายตรงตามสายพันธุ์ สำหรับวิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้ได้ราคาดี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

เลี้ยงปลาหางนกยูงแบบมืออาชีพ

ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินสัตว์น้ำตัวเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งลูกปลาตัวเล็กๆ ที่เกิดใหม่ด้วย เมื่อปลามีอายุประมาณ 3 เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องแยกปลาเพศผู้กับเพศเมียไว้คนละบ่อ เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กันเอง การแยกเพศทำได้เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง มีขั้นตอน ดังนี้

เตรียมบ่อ ที่ใช้เลี้ยงตามต้องการ ทำความสะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง หลังจากนั้นเปิดน้ำใส่แช่ทิ้งไว้ 1 วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง

น้ำที่ใช้ใส่บ่อเลี้ยงปลา ต้องเป็นน้ำสะอาด

น้ำประปา ต้องไม่มีคลอรีนเจือปนอยู่ โดยพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์

น้ำบาดาล ทำเช่นเดียวกับน้ำประปา คือพักน้ำทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ และเติมออกซิเจนตลอดเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ

ดูค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) โดยใช้กระดาษทดสอบค่า pH จุ่มในน้ำ แล้วนำสีที่ได้มาเทียบค่า ให้มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5 (กระดาษทดสอบหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลาทั่วไป)

อาหารของปลาหางนกยูง

สำหรับอาหาร ปลาหางนกยูง จะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่าอาหารสดจำพวก ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล ไรทะเล ที่มีชีวิต หรืออาหารปลาสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด อาหารควรให้ 2 เวลา คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าควรเป็นอาหารสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนำไปแช่ด่างทับทิม ขั้นตอนคือนำด่างทับทิมประมาณหยิบมือ ละลายน้ำ นำไรแดง หรืออาหารสดอื่นๆ ลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ตอนเย็นอาจเปลี่ยนไปให้อาหารสำเร็จรูปแทนได้ เมื่อให้อาหารปลาเสร็จแล้ว ควรดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ให้น้อยไปหรือไม่ สังเกตได้จากปลากินหมดเร็วมาก ก็ให้เพิ่มอีก แต่หากให้อาหารเยอะไปมีเศษอาหารเหลือ ให้ตักทิ้ง อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สิ่งสำคัญ ควรให้อาหารสดจำพวกไรแดง ไรทะเล ดีกว่าให้อาหารสำเร็จรูป เพราะปลาจะได้มีสีสันที่สวยงาม

การทำความสะอาด

ในแต่ละสัปดาห์ ควรดูดน้ำก้นบ่อเอาขยะออก และให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งบ่อ จากนั้นจึงเติมน้ำใหม่ลงไป สาเหตุที่ไม่เทออกทั้งหมด เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ และในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน ให้ล้างทำความสะอาดบ่อและเปลี่ยนน้ำใหม่

ระวัง! ภัยจากโรคร้าย

โรคจุดขาว จะพบตามผิวหนังด้านนอก เนื่องจากปลาสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มสัตว์เซลล์เดียวที่ชื่ออิ๊ค เพื่อลดความระคายเคือง โรคนี้ไม่มีวิธีรักษา แต่สามารถทำลายตัวอิ๊คในน้ำ โดยใส่ฟอร์มาลิน 25 –30 ซีซี ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด ทำซ้ำ 3–4 วัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์

โรคจากตัวปลิงใส จะพบตามเหงือกและผิวหนัง ซึ่งเกิดจากปรสิตตัวแบน 2 ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dctylogyrus การรักษาใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ตลอด

โรคจากหนอนสมอ การรักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์เข้มข้น 0.25 – 0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด และทำซ้ำ 3–4 ครั้ง โดยห่างกัน 1 สัปดาห์ วิธีนี้สามารถรักษาโรคจากตัวปลิงใสได้ด้วย

โรคจากแบคทีเรีย อาการสังเกตจากส่วนครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1–2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือใช้เกลือแกงเล็กน้อยละลายน้ำ แช่นาน 2–3 วัน

ที่มา : http://pet.kapook.com/view1388.html

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาสุมาตรา



ชื่อสามัญ Tiger barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius partipentazona (Fowler, 1934)

ลักษณะทั่วไปของปลาเสือพ่นน้ำ

ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่มีขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายปลาตะเพียนแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปลำตัวมีสีเหลืองทอง มีแถบสีดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ ตั้งแต่หัว หน้าครีบหลัง บนครีบหลัง เหนือครีบก้น และปลายคอดหาง บริเวณปลายครีบมีสีส้ม ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่ว่ายน้ำตลอดเวลา และมีความว่องไว ค่อนข้างทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม ปลาตัวผู้มีสีเข้มสดใส ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำ แต่มีนิสัยก้าวร้าว โตเต็มที่มีขนาด 5 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาที่พบแพร่กระจายอยู่ทั่วไปในแถบทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณหมู่เกาะสุมาตราบอร์เนียว กาลิมันตัน มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยพบในบริเวณ แม่น้ำ ลำธาร และอ่างเก็บน้ำเกือบทั่วทุกภาคของไทย


การเพาะพันธุ์ปลาเสือสุมาตรา

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวแลดูยาว และแบนข้างมากกว่าตัวเมีย บริเวณปาก และครีบ มีสีออกแดง ส่วนตัวเมียมีลำตัวใหญ่ และป้อมกว่า ส่วนบริเวณปากมีสีไม่เข้มเหมือนตัวผู้ ปกติตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้

การเพาะพันธุ์

ปลาเสือสุมาตราเพาะพันธุ์โดยการวางไข่ ไข่จะมีส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. ไข่มีสีออกค่อนข้างเหลือง ไข่ปลามีลักษณะเป็นไข่ประเภทเกาะติด ลูกปลาใช้เวลาในการฟักตัวออกจากไข่ประมาณ 36 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 26 องศาเซลเซียส ตู้เพาะพันธุ์ควรใช้ตู้ปลาขนาด 12x20 นิ้ว โดยใส่สาหร่ายลงในตู้ เพื่อให้ไข่ปลาเกาะได้ น้ำควรเป็นน้ำที่ผ่านการฆ่าเชื้อ และกำจัดคลอรีนแล้ว เมื่อเตรียมอุปกรณ์ พร้อมแล้วให้นำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในตู้ ปกติปลาชนิดนี้ไข่ในช่วงเช้ามืด จำนวนไข่ในแต่ละคอกเฉลี่ยประมาณ 200-300 ฟอง เมื่อพบปลาวางไข่เป็นที่เรียบร้อย แล้วให้ตักพ่อแม่ปลาออก

การอนุบาลลูกปลา

เมื่อลูกปลาฟักออกเป็นตัวแล้วยังไม่ต้องให้อาหาร ประมาณ 2 วัน ลูกปลายังคงใช้อาหารสำรอง และเมื่อลูกปลาอายุ 3 วัน ควรให้อาหารโดยใช้ไข่ต้มสุกแล้วนำเฉพาะไข่แดงมาบดให้ละเอียด แต่อย่าให้อาหารปลามากจนเกินไปเพราะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย หรือถ้ามีโรติเฟอร์ก็ควรให้กินในระยะนี้ เพราะทำให้ลูกปลามีอัตราการรอดตายสูงขึ้น หลังจากนั้นควรเริ่มให้ลูกไรเป็นอาหารอาหารสำหรับลูกปลา ปลาเสื่อสุมาตรา สามารถกินได้แทบทุกชนิด รวมทั้งอาหารสำเร็จรูป

ที่มา : http://www.fisheries.go.th/sf-saraburi/index.php?option=com_content&view=article&id=63&Itemid=150

ปลาการ์ตูน



ปลาการ์ตูน (Clownfish) เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกปลาสลิดหิน พบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังในบริเวณเส้นศูนย์สูตรทั่วโลก ปลาการ์ตูน ชอบอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลที่มีเข็มพิษสำหรับป้องกันอันตราย แต่ไม่เป็นอันตรายกับ ปลาการ์ตูน ทำให้สามารถอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัยกัน

ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงกัน เพราะมีสีสันสวยงาม ปลาการ์ตูน ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ตามธรรมชาตินั้น ปลาการ์ตูน จะอยู่กันเป็นครอบครัว และกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน เป็นปลาที่หวงถิ่นมากจะมีเขตที่อยู่ของตนเอง

สำหรับ ปลาการ์ตูน มีทั้งหมด 28 ชนิด ในเมืองไทยพบ ปลาการ์ตูน 7 ชนิด พบทั้งอ่าวไทยและอันดามัน ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียแดง ปลาการ์ตูนแดง ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ปลาการ์ตูนอานม้า ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนอินเดียน

ทั้งนี้ ปลาการ์ตูน ทั้ง 7 ชนิด ที่พบในประเทศไทย สามารถที่จะผสมพันธุ์และวางไข่ในตู้เลี้ยงได้ทุกชนิด การเพาะพันธุ์ ปลาการ์ตูน นั้น ต้องเริ่มจากการจับคู่พ่อ-แม่พันธุ์ที่จะผสมพันธุ์วางใข่ เพศของปลาการ์ตูนนั้นไม่สามารถบอกได้จากลักษณะภายนอก อีกทั้ง ปลาการ์ตูน สามารถที่จะเปลี่ยนเพศได้ โดยเพศของ ปลาการ์ตูน จะถูกกำหนดโดยโครงสร้างของสังคม และเมื่อเปลี่ยนเป็นเพศเมียแล้ว จะไม่สามารถกลับมาเป็นเพศผู้ได้อีก ทำให้การจับคู่ ปลาการ์ตูน มีความสลับซับซ้อนมาก

สำหรับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ การเลี้ยง ปลาการ์ตูน เพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ จึงควรเริ่มจากปลาที่มีขนาดยังไม่ถึงวัยเจริญพันธุ์ และควรใช้ ปลาการ์ตูน ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงมากกว่าปลาธรรมชาติ เพราะจะมีความทนทานมากกว่า โดยควรนำปลามาเลี้ยงรวมกันเป็นฝูง ประมาณ 6-8 ตัว หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับขนาดตู้เลี้ยง เมื่อ ปลาการ์ตูน เริ่มจับคู่จะสังเกตว่าทั้งสองตัวจะแยกตัวออกจากฝูงและหวงอาณาเขต จากนั้นให้แยก ปลาการ์ตูน คู่นั้นออกจากตู้ไปเลี้ยงในตู้ที่เตรียมไว้สำหรับเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

การเลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์

ตู้ที่ใช้เลี้ยง ปลาการ์ตูน พ่อพันธุ์ - แม่พันธุ์ ควรมีขนาดความจุอย่างต่ำ ประมาณ 100 ลิตร มีระบบกรองภายในหรือภายนอกตู้ เลี้ยงปลาแยกกันตู้ละ 1 คู่ ในตู้ให้จัดหาวัสดุสำหรับให้ปลาหลบซ่อน และสำหรับวางไข่ได้ เช่น แผ่นกระเบื้องปูพื้น กระเบื้องทะเลเข้าไปในตู้ เพราะปลาสามารถวางไข่ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีดอกไม้ทะเลอาหารที่ใช้เลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ ให้ใช้อาหารสดที่มีคุณภาพดี เช่นเนื้อหอยลายสับ เนื้อกุ้ง ไรน้ำเค็มที่เสริมกรดไขมัน ไข่ตุ๋น ฯลฯ สลับกัน ให้อาหารวันละ 1 - 2 ครั้ง ระวังอย่าให้มีอาหารตกค้างอยู่ในตู้ ควบคุมคุณภาพน้ำโดยการทำความสะอาดก้นตู้ เปลี่ยนถ่ายน้ำครั้งละ 10-20% ทุก 2 อาทิตย์

การดูแลและการฟักไข่ ปลาการ์ตูน

พ่อ - แม่ปลาจะทำการดูแลไข่ในระหว่างการฟัก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวผู้จะรับหน้าที่ไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 7 วัน แต่ในช่วงอากาศหนาวจะใช้เวลาประมาณ 5-9 วัน หรือในช่วงทีอากาศร้อนจะใช้เวลาประมาณ 6 วัน การนำไข่ออกมาฟัก สามารถกระทำได้แต่จะให้ผลไม่ดีเท่ากับปล่อยให้พ่อ - แม่ปลาฟักไช่เอง การสังเกตว่าลูกปลาจะฟักหรือยัง สังเกตได้จากตาของลูกปลาที่อยู่ในถุงไข่ จะกลายเป็นสีน้ำเงินสะท้อนแสง ซึ่งแสดงว่าลูกปลาพร้อมที่จะฟักออกเป็นตัวแล้ว ลูกปลาจะฟักในช่วงหัวค่ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง หลังจากมืดสนิท

การอนุบาลปลาลูก ปลาการ์ตูน

หลังจากลูกปลาฟักออกเป็นตัวให้แยกลูกปลาออกจากตู้ โดยใช้กระชอนผ้ารวบรวมลูกปลาและตักออกมาพร้อมน้ำ ระวังอย่าให้ลูกปลาสัมผัสกับอากาศ นำไปอนุบาลในตู้กระจกขนาดเล็ก ความหนาแน่นสูงสุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อลิตร ให้อากาศแรงพอประมาณ ระหว่างการอนุบาลใช้ โรติเฟอร์ ไรน้ำเค็ม และสาหร่ายชนาดเล็ก เช่น ไอโซโครซิส เป็นอาหารในระยะ 2-3 วันแรกอาจใช้วิธีเพิ่มน้ ในตู้ปลาอนุบาล

หลังจากนั้นจึงทำการดูดตะกอน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันทุกวัน วันละ 20-50% ลูกปลาจะเริ่มเปลี่ยนแปลงรูปร่างโดยจะมีลวดลาย สีสันบนลำตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมีลักษณะเหมือนกับพ่อ - แม่โดยสมบูรณ์ เมื่อมีอายุได้ 3-4 สัปดาห์ และลูกปลาจะลงไปอาศัยอยู่ที่พื้นกันตู้ ถือว่าสิ้นสุดระยะของการอนุบาล จึงย้ายลูกปลาไปเลี้ยงต่อในตู้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อัตรารอดของลูกปลาเฉลี่ยประมาณ 10-20% และลูกปลาจะมีขนาดความยาวประมาณ 8-10 มม.

การเลี้ยงปลาการ์ตูน

เมื่อพ้นระยะอนุบาล ให้นำปลามาเลี้ยงในตู้เลี้ยงในตู้เลี้ยงที่ใหญ่ขึ้น ความหนาแน่น ประมาณ 1 ตัวต่อลิตร และเริ่มเปลี่ยนอาหารมาเป็นอาหารสด เช่น หอยลายสับหรือเนื้อกุ้งสับ หรือจะให้อาหารที่ผสมขึ้นเอง โดยค่อยๆ ลดไรน้ำเค็มลง ตู้ที่ใช้เลี้ยงต้องมีระบบกรองภายในหรือภายนอกมีการทำความสะอาดและเปลี่ยน ถ่ายน้ำเป็นระยะ เข่น มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ 20% ทุก 2 สัปดาห์

สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากในการเลี้ยง ปลาการ์ตูน คือ คุณภาพน้ำและความหนาแน่น ถ้าให้อาหารมากเกินไป มีสิ่งสกปรกหมักหมมอยู่ในตู้เลี้ยงหรือมีความหนาแน่นมาก มักจะเกิดโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจาก Amyloodinium Ocellatum ซึ่งเมื่อเกิดแล้วลูกปลาจะตายเกือบหมด

ดังนั้น การดูแลรักษาความสะอาดและคุณภาพน้ำเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง และความต้องการจับคู่ พ่อ-แม่พันธุ์ ควรจะนำปลาที่มีอายุประมาณ 4-6 เดือน แยกเลี้ยงเป็นพ่อ - แม่พันธุ์ต่อไป โดยปลาจะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน

การให้อาหาร ปลาการ์ตูน

การเลี้ยงปลาทะเลเพื่อเลี้ยงดูสวยงามนั้น ไม่ควรให้กินอาหารเกินวันละครั้งและควรให้กินแต่พออิ่ม ไม่ควรให้ตามที่ปลาต้องการ เพราะจะทำให้เกิดของเสียมาก บางช่วงถ้าปลาไม่กินอาหารเช่นในช่วยที่อากาศเย็น จะต้องงดให้อาหารหรือลดปริมาณของอาหารลง อาหารที่ให้อาจเป็นเนื้อกุ้งสับ หอยลานสับ กุ้งเคย อาหารสำหรับปลาทะเล ฯลฯ สลับกันไป และเมื่อมีอาหารเหลือตกอยู่ก้นตู้ต้องกำจัดออก ห้ามปล่อยทิ้งไว้กับตู้โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย

ที่มา : http://pet.kapook.com/view3401.html